LESSON 3 กายวิภาคศาสตร์และสรีรทางวิทยา

บทที่3
กายวิภาคและสรีรการออกกำลังกายขั้นพื้นฐาน


ภาพที่ 3.1 กายวิภาคและสรีรร่างกายทางวิยา
แหล่งที่มารูปภาพ http://www.trueplookpanya.com

          กายวิภาคศาสตร์ เป็นวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย และอวัยวะต่าง ๆ ของมนุษย์หรือสัตว์ ทั้งในด้านโครงสร้างและลักษณะ รูปร่าง และตำแหน่งที่อยู่ ตลอดจนความสัมพันธ์กับอวัยวะใกล้เคียง ในสภาพปกติ
          สรีรวิทยา (physiology) เป็นวิชารากฐานที่สำคัญและมีความแตกต่างจากวิชาอื่น ๆ ที่อยู่ใน biomedical science เนื่องจากสรีรวิทยาเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ต่าง ๆ ของร่างกายที่มีชีวิต โดยเน้นที่กระบวนการซึ่งควบคุมระบบที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้อย่างปกติ แม้ว่าสภาวะภายนอกและภายในร่างกายจะเปลี่ยนแปลงเพียงใดก็ตาม ซึ่งนักสรีรวิทยาเรียกกระบวนการที่ควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในร่างกายซึ่งล้อมรอบเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ ให้อยู่ในสมดุลหรือมีการเปลี่ยนแปลงภายในขอบเขตุจำกัดนี้ว่า homeostasis ดังนั้น homeostasis จึงมีความหมายถึงสิ่งที่วิชาสรีรวิทยาครอบคลุมไว้ทั้งหมด นั่นคือกลไกซึ่งใช้ในการปรับสภาวะภายในที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ให้คงที่อยู่ในช่วงซึ่งพอเหมาะกับการทำหน้าที่ต่าง ๆ ของร่างกาย


          ดังนั้นการศึกษากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ จึงเป็นการศึกษาถึงโครงสร้างร่างกายและส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกายทั้งระดับภายนอกและภายใน ระดับโครงสร้างขนาดใหญ่จนถึงโครงสร้างขนาดเล็ก ตลอดจนการศึกษาถึงหน้าที่การทำงานของระบบร่างกาย ดังนั้น การเรียนร่างกายมนุษย์ในระบบต่าง ๆ จึงต้องศึกษาทั้งกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ไปควบคู่กันทั้งคนปกติและคนที่เจ็บป่วย เพื่อให้เราสามารถดูแลรักษาและป้องกันการเจ็บป่วยได้อย่างเหมาะสม


กายวิภาคและสรีรการออกกำลังกายขั้นพื้นฐาน
            กายวิภาคศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย  และอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์หรือสัตว์ ท้งในด้านโครงสร้างลักษณะ รูปร่าง และตำแหน่งที่อยู่ตลอดจนความสัมพันธ์กับอวัยวะใกล้เคียง ในสภาพปรกติ
ภาพที่ 3.2 กายวิภาคศาสตร์
แหล่งที่มารูปภาพ https://es.wikipedia.org/wiki/Hombre_de_Vitruvio
            
            สรีรวิทยา (physiology) เป็นวิชารากฐานที่สำคัญและมีความแตกต่างจากวิชาอื่นๆ ที่อยู่ใน biomedical  science  เนื่องจากสรีรวิทยาเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ต่างๆ ของร่างกายที่มีชีวิตโดยเน้นที่กระบวนการซึ่งควบคุมระบบที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ปรกติแม้ว่าสภาวะภายนอกและภายในร่างกายจะเปลี่ยนแปลงเพียงใดก็ตาม ซึ่งนักสรีรวิทยาเรียกกระบวนการที่ควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในร่างกายซึ่งล้อมรอบเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ให้อยู่ในสมดุลหรือมีการเปลี่ยนแปลงภายในขอบเขตจำกัดนี้ว่า homeostasis ดังนั้น homeostasis จึ่งมีความหมายถึงสิ่งที่วิชาสรีรวิทยาครอบคลุมไว้ทั้งหมด นั่นคือกลไกซึ่งใช้ในการปรับสภาวะภายในที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ให้คงที่อยู่ในช่วงซึ่งพอเหมาะกับการทำหน้าที่ต่างๆ ของร่างกาย

ภาพที่ 3.3 สรีรวิทยา
แหล่งที่มารูปภาพ https://starhq.co/galleries/human-anatomy-and-physiology.html

            ดังนั้นการศึกษากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ จึงเป็นการศึกษาถึงโครงสร้างร่างกายและส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกายทั้งระดับภายนอกและภายใน ระดับโครงสร้างขนาดใหญ่จนถึงโครงสร้างขนาดเล็ก ตลอดจนการศึกษาถึงหน้าที่การทำงานของระบบร่างกาย ดังนั้นการเรียนร่างกายมนุษย์ในระบบต่างๆ จึงต้องศึกษาทั้งกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ไปควบคู่กันทั้งคนปรกติและคนที่เจ็บป่วย เพื่อให้เราสามารถดูแลรักษาและป้องกันการเจ็บป่วยได้อย่างเหมาะสม

โครงสร้างทั่วไปของร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยชีววิทยาและเคมี ดังนี้
ภาพที่ 3.4 เซลล์ในร่างกายมนุษย์
แหล่งที่มารูปภาพ https://sciencing.com/cell-structure-definitions-5043056.html

                1.ทางชีววิทยา ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยหน่วยชีวิตที่มีขนาดเล็กมากเรียกว่าเซลล์ (call) ภายในเซลล์จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ไซโตพาสซึม (cytoplasm) และนิวเคลียส (nucleus) (call) ภายในเซลล์จะมีเยื่อบางๆ ห่อหุ้มอยู่เรียกว่า เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) เซลล์หลายๆ เซลล์หลายๆเซลล์รวมกันเพื่อทำหน้าที่อย่างเดียวกัน เรียกว่า เนื้อเยื่อ (tissue) เนื้อเยื่อหลายๆชนิดมาทำงานประสานกันเรียกว่าระบบ (system) ในร่างกายรวมกันเป็นร่างกาย
                2.ทางเคมี ร่างกายของมนษย์ประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ ดังนี้ ออกซิเจน 65 เปอร์เซ็นต์ คาร์บอน 18 เปอร์เซนต์ ไฮโดรเจน 10 เปอร์เซนต์  ไนโตเจน 3 เปอร์เซนต์ และแร่ธาตุอื่นๆ อีกประมาณ  4 เปอร์เซนต์ ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน โซเดียม คลอรีน เหล็ก แมกนีเซียม เป็นต้น
ภาพที่ 3.5 ธาตุที่พบในร่างกายมนุษย์
แหล่งที่มารูปภาพ http://www.motherandcare.in.th/

โครงสร้างของเซลล์และหน่วยหน้าที่

            เซลล์โดยทั่วไปถึงแม้จะมีขนาด รูปร่าง และหน้าที่แตกต่างกัน แต่ลักษณะพื้นฐานภายในเซลล์มักไม่แตกต่างกัน นักชีววิทยาได้ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนศึกษาเซลล์ของสิ่งมีชีวิตพบว่า ในไซโทพลาซึมมีโครงสร้างขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เฉพาะเรียกว่า ออร์แกเนลล์ ทำหน้าที่เฉพาะ โครงสร้างของเซลล์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
1.โพรโทพลาสซึม (protoplasm) เป็นสารกึ่งของเหลวอยู่ภายในของเซลล์ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย นิวเคลียส (Nucleus) และไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) มีความหนืดโปร่งแสง ไม่มีสี ถูกห่อหุ้มด้วยผนังเซลล์ หากเป็นของพืชจะมีคลอโรพลาสต์ (Chloroplast) รวมอยู่ด้วย เมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมจะแสดงคุณสมบัติการมีชีวิตได้
  1.1.ไซโทพลาซึม (cytoplasm) เป็นส่วนที่ล้อมรอบนิวเคลียสอยู่ภายในเยื้อหุ้มเซลล์โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ
            1.เอกโทพลาซึม (ectoplasm) เป็นส่วนของโซโทพลาซึมที่อยู่ด้านนอกติดกับเยื่อหุ้มเซลล์ มีลักษณะบางใส เพราะมีส่วนประกอบต่างๆ ของเซลล์อยู่น้อย
            2.เอนโดพลาซึม (endoplasm) เป็นชั้นของไซโทพลาซึมที่อยู่ด้านในใกล้นิวเคลียสชั้นนี้จะมีลักษณะที่เข้มข้นกว่าเนื่องจากมี ออร์แกแนล และอนุภาคต่างๆ ของสารอยู่มาก จึงเป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของเซลล์มากด้วย
     1.1.1.ไลโซโซม (lysosome) เป็นออร์แกแลที่มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว พบโดยคริส เตียน เดอ ดูฟ
(Christrain de Duve) รูปร่างกลมรี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 0.8 ไมครอนเป็นเวสิเคิลที่สร้างจากกอลจิคอม ไลโซโซมพบในโพรทิสต์บางชนิดและพบในสัตว์เกือบทุกชนิด ไม่พบ ในเซลล์พืช ในไลโซโซมมีเอนไซม์ย่อยอาหาร ไลโซโซมจะรวมกับเวสิเคิลหรือแวคิวโอล ที่มีอาหารอยู่มีเอนไซม์ทำลายสิ่งแปลกปลอม และทำลายออร์แกแลล์ที่เสื่อมสภาพ
    1.1.2. ไรโบโซม (ribosome) เป็นออร์แกเนลล์ขนาดเล็ก พบได้ในสิ่งมีชีวิตทั่วไป ประกอบด้วยสารเคมี 2 ชนิด คือ กรดไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid:RNA) กับโปรตีน มีทั้งที่อยู่เป็นอิสระในไซโทพลาซึม และเกาะอยู่บนเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม พวกที่เกาะอยู่ที่เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมจะบฃพบมากในเซลล์ต่อมที่สร้างเอนไซม์ต่างๆ พลาสมาเซลล์เหล่านี้จะสร้างโปรตีนที่นำไปใช้นอกเซลล์เป็นสำคัญ


ภาพที่ 3.6 ไรโบโซม
แหล่งที่มารูปภาพ http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/dna/chapter/link_ribosome.htm

      1.1.3.กอลจิคอมเพล็กซ์ ( golgi complex Golgi bodies , Golgi apparatus )เป็นกลุ่มของถุงกลมแบนขนาดใหญ่ ตรงขอบโป่งพอง ใหญ่ขึ้น เป็นท่อเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆอยู่ใกล้กับเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม พบในเซลล์พืชและสัตว์ชั้นสูงเกือบทุกชนิด หน้าที่สำคัญ คือ เก็บสะสมสารที่เซลล์สร้างขึ้นก่อนปล่อยออกนอกเซลล์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรตีนมีการจัดเรียงตัวให้เหมาะสมกับการทำงาน เกี่ยวข้องกับการสร้างอะโครโซม (acrosome) ซึ่งอยู่ที่ส่วนหัวของอสุจิ ทำหน้าที่เจาะไข่เมื่อเกิดการปฏิสนธิ





ภาพที่ 3.7 กอลจิคอมเพล็กซ์
แหล่งที่มารูปภาพ https://b40p47a33j38.wordpress.com

     1.1.4.เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (endoplasmic reticulum : ER) เป็นท่อแบนใหญ่ บางบริเวณโป่งออกเป็นถุง เรียงขนานกันเป็นชั้น ๆ ภายในมีของเหลวบรรจุอยู่มีท่อเชื่อมถึงกันเป็นร่างแหอยู่ล้อมรอบนิวเคลียส และเชื่อมกับเยื่อหุ้มนิวเคลียสที่ผิวนอกของ เอนโดพลาสมิคเรติคูลัม

เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม มี  2  ชนิด คือ
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมชนิดผิวขรุขระ (rough endoplasmic reticulum : RER) เพราะมีไรโบโซมมาเกาะติดอยู่ทำให้มองดูคล้ายผิวขรุขระ มีหน้าที่ที่สร้างไขมัน อันได้แก่ ฟอสโฟลิปิด ฮอร์โมนเพศและสเรอยด์ ฮอร์โมนเป็นที่สำหรับเก็บ Ca2 + มีนกระบวนการ เมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดร มีเอนไซม์สำหรับทำลายพิษของยส พบมากที่ลูกอัณฑะ รังไข่ และผิวหนัง (skin)
เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมชนิดผิวเรียบ (smooth endoplasmic reticulum : SER) เพราะไม่มีไรโบโซมมาเกาะผิวจึงดูเรียบเป็นชนิดที่ไม่มี ไรโบโซมเกาะ พบมากในเซลล์ที่มีหน้าที่กำจัดสารพิษ และสร้างสารสเตอรอยด์ จึงพบในเซลล์ที่ต่อมหมวกไต เซลล์แทรกของเลย์ดิกในอัณฑะ เซลล์คอร์ปัสลูเทียมในรังไข่ และในเซลล์ของตับ และยังทำหน้าที่ คือ ลำเลียงสารต่างๆ เช่น RNA ลิพิด โปรตีน เนื่องจากผนังของ ER ยอมให้สารประกอบโมเลกุลใหญ่บางชนิด รวมทั้ง ลิพิด เอนไซม์ และโปรตีนผ่านเข้าออกได้ จึงเป็นทางผ่านของสาร และเกลือแร่เข้าไปกระจายทั่วเซลล์ รวมทั้งสารต่างๆ ยังอาจสะสมไว้ใน ER อีกด้วย และการขับของเสีย ออกจากเซลล์ โดยผ่านทาง ER เรียกว่า เอกโซไซโทซิส (exocytosis)


ภาพที่ 3.8 เซลล์
แหล่งที่มารูปภาพ https://b40p47a33j38.files.wordpress.com
     1.1.5.ไมโทคอนเดรีย (Mitochondrion) คือ แหล่งสร้างพลังงานของเซลล์ พบโดย คอลลิคเกอร์ (Kollicker) รูปร่างลักษณะ ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลม ท่อนสั้น ท่อนยาว หรือกลมรีคล้ายรูปไข่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.2 1 ไมครอน ยาว 5 7 ไมครอน ประกอบด้วยสารพวกโปรตีนและไขมันไมโตคอนเดรียคือออร์แกเนลล์ที่อยู่ในไซโตพลาสซึมที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ชั้นนอกผิวเรียบ ส่วนชั้นในพับเข้าไปด้านใน เรียกว่า คริสตี (cristae) ภายในไมโตคอนเดรียมีของเหลวซึ่งประกอบด้วยสารหลายชนิด เรียกว่า เมทริกซ์ (matrix)ในมนุษย์มี
ภาพที่ 3.9 ไมโทคอนเดรีย
แหล่งที่มารูปภาพ https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Animal_mitochondrion_diagram_lt.svg

ไมโทคอนเดรียมากที่สุดที่กล้ามเนื้อหัวใจ จำนวนของไมโตคอนเดรียในเซลล์แต่ละชนิดจะมีจำนวนไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับชนิดและกิจกรรมของเซลล์ เซลล์ที่มีเมแทบอลิซึมสูงจะมีไมโตคอนเดรียมาก เช่น เซลล์ตับ ไต กล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์ต่อมต่าง ๆทำหน้าที่เสมือนโรงงานแปรรูปอาหารหรือเรียกว่ากระบวนการเผาผลาญ   อาหารเพื่อให้ได้รหัสพันธุกรรม (DNA)เป็นแหล่งกำเนิดพลังงาน ATP ทำให้คนเราสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้
     1.1.6.เซนโทรโซม (อังกฤษ: centrosome) เป็นออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มขนาดยาวประมาณ 300 2000 มิลลิไมครอน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 150 250 มิลลิไมครอน ไม่พบในเซลล์พืช แต่จะพบในโปรตีสต์บางชนิด และเซลล์สัตว์ ในแต่ละเซลล์ จะมีเซนทริโอล 2 อันวางในแนวตั้งฉาก ซึ่งกันและกัน เซนทริโอลทั้งสอง จะอยู่ใกล้นิวเคลียส แต่ละอันของเซนทริโอลประ
กอบด้วยหลอดเล็กๆ เรียกว่ไมโครทิวบูล เรียงกัน เป็นกลุ่ม
ภาพที่ 3.10 ไมโครทิวบูล

      1.1.7.แวคิวโอล (vacuole) เป็นออร์แกเนลล์ ที่มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว มีลักษณะเป็นถุง มีเมมเบรน ซึ่งเรียกว่า โทโนพลาสต์ (tonoplast) ห่อหุ้ม ภายในมีสารต่างๆ บรรจุอยู่ โดยทั่วไป จะพบในเซลล์พืช และสัตว์ชั้นต่ำ ในสัตว์ชั้นสูง มักไม่ค่อยพบ แวคิวโอลทำหน้าที่ช่วยให้เซลล์พืชดำรงค์ความมีชีวิต และยังทำหน้าที่เก็บสะสมสาร ที่เป็นอันตราย ต่อไวโตพลาสซึมของเซลล์ ในเซลล์พืชที่ยังอ่อน จะมีแวคิวโอลเล็กๆ เป็นจำนวนมาก เซลล์พืชที่เจริญเติบโต เต็มที่สมบรูณ์ แวคิวโอลจะรวมกัน มีขนาดใหญ่มากประมาณ 95 % หรือมากกว่านี้โดยปริมาตรของแต่ละเซลล์ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
คอนแทรกไทล์ แวคิวโอล (contractile vacuole) พบในโพรโทซัวน้ำจืดเท่านั้น เช่น อะมีบา พารามีเซียม ทำหน้าที่ขับถ่ายน้ำที่มากเกินความต้องการ และของเสียที่ละลายน้ำ ออกจากเซลล์ และควบคุมสมดุลน้ำ ภายในเซลล์ให้พอเหมาะด้วย
ฟูด แวคิวโอล (food vacuole ) พบในโพรโทซัวพวกอะมีบา และพวกที่มีขนซีเรีย นอกจากนี้ ยังพบในเซลล์เม็ดเลือดขาว และฟาโกไซทิกเซลล์ (phagocytic cell) อื่นๆด้วย ฟูด แวคิวโอล เกิดจาการนำอาหารเข้าสู่เซลล์หรือการกิน แบบฟาโกไซโทซิส (phagocytosis) ซึ่งอาหารนี้ จะทำการย่อย โดยน้ำย่อยจากไลโซโซมต่อไป
แซป แวคิวโอล (sap vacuole) พบเฉพาะในเซลล์พืชเท่านั้น ภายในบรรจุของเหลว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำ และสารละลายอื่นๆ ในเซลล์พืชที่ยังอ่อนๆอยู่ แซป แวคิวโอล จะมีขนาดเล็ก รูปร่างค่อนขางกลม แต่เมื่อเซลล์แก่ขึ้น แวคิวโอลชนิดนี้ จะมีขนาดใหญ่เกือบเต็มเซลล์ ทำให้ส่วนของนิวเคลียส และไซโทพลาสซึม ส่วนอื่นๆ ถูกดันไปอยู่ทางด้านข้าง ด้านใดด้านหนึ่งของเซลล์
                1.1.8.ไฟบริล (Fibril) เป็นพวกเส้นใยโปรตีนพบในเซลล์บางชนิดเช่น กล้ามเนื้อจะมีมัดของเส้นฝอย ที่มีชื่อเรียกในวงการกล้ามเนื้อว่าไฟบริล ลอยตัวอยู่เกือบเต็มพื้นที่ของเซลล์ เส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) อยู่รวมกันเป็นมัด เซลล์แต่ละเซลล์ในเส้นใยกล้ามเนื้อจะมีหลายนิวเคลียส และในเส้นใยกล้ามเนื้อแต่ละเส้นจะประกอบด้วยมัดของเส้นใยฝอย หรือเส้นใยกล้ามเนื้อเล็ก (myofibril) ที่มีลักษณะเป็นท่อนยาว
ภาพที่ 3.11 Myofibril
ที่มาของรูปภาพ https://en.wikipedia.org/wiki/Myofibril

1.2.นิวเคลียส (nucleus)  เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ มีลักษณะค่อนข้างกลม มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น มีรูเล็ก ๆ เป็นเยื่อเลือกผ่านซึ่งเป็นทางผ่านของสารต่าง ๆ เข้าและออกจากนิวเคลียส ภายในมีโครโมโซม บนโครโมโซมมีหน่วยพันธุกรรมหรือยีนอยู่หน้าที่ ของนิวเคลียส เป็นศูนย์กลางในการควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต และควบคุมการทำงานของเซลล์และการเจริญเติบโตเป็นแหล่งสังเคราะห์สารพันธุกรรมและควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนภายในเซลล์
ภาพที่ 3.12 โครงสร้างของนิวเคลียสและเยื่อหุ้มนิวเคลียส

           1. เยื่อหุ้มนิวเคลียส (Nuclear membrane)
  – มีลักษณะเหมือนกับเซลล์เมมเบรน
  – ประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมัน บางครั้งจะมีไรโบโซมมาเกาะอยู่
  – จะมีรู (pores) มากมาย ซึ่งเป้นทางผ่าน เข้าออกของสารต่าง ๆ

2. โครมาติน (Chromatin)
  – เป็นส่วนของนิวเคลียสที่ติดสีย้อม
  – ส่วนที่ติดสีย้อมเข้มเรียกว่า เฮทเทอโรโครมาติน (heterochromatin)
  – ส่วนที่ติดสีจาง ๆ เรียกว่า ยูโครมาติน (euchromatin) ซึ่งเป็นที่อยู่ของยีนหรือดีเอ็นเอ
  – โครมาตินจะหดสั้นเข้าและหนาในขณะที่เซลล์มีการแบ่งตัวซึ่งเรียกว่า โครโมโซม
  – สิ่งมีชีวิต แต่ละชนิดก็จะมีจำนวนโครโมโซม แตกต่างกันไป

3. นิวคลีโอลัส
  – มีรูปร่างกลม ๆ จำนวนไม่แน่นอนเกาะติดกับโครโมโซม
  – เป็นส่วนที่ติดสีย้อมชัดเจน
  – องค์ประกอบทางเคมี คือโปรตีน, RNA และเอ็นไซม์อีกหลายตัว
  – ทำหน้าที่ของเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์

2.เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) เยื่อหุ้มเซลล์ เป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ชิดกับผนังเซลล์ อาจจะมีลักษณะเรียบ (smooth) หรืออาจจะพับไปมา เพื่อขยายขนาด เยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในเซลล์ เรียกว่า mesosomes มีหน้าที่ควบคุม การเข้าออกของน้ำ สารอาหาร และอิออนโลหะต่างๆ เป็นตัวแสดงขอบเขตของเซลล์ เซลล์ทุกชนิดต้องมีเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์เป็นเยื่อบางๆ ประกอบด้วนสารประกอบสองชนิด คือ ไขมันชนิดฟอสโฟลิปิด กับโปรตีน โดยมฟอสโฟลิปิดอยู่ตรงกลาง 2 ข้างเป็นโปรตีน โดยมีไขมันหนาประมาณ 35 อังสตรอม และโปรตีนข้างละ 20 อังสตรอม รวมทั้งหมดหนา 75 อังสตรอม ลักษณะที่แสดงส่วนประกอบ ของเยื่อหุ้มเซลล์นี้ ต้องส่องดู ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จึงจะเห็นได้เยื่อหุ้มสามารถแตกตัวเป็นทรงกลมเล็ก ๆ เรียกเวสิเคิล (Vesicle) ซึ่งมีช่องว่างภายใน (Lumen) ที่บรรจุสารต่าง ๆ และสามารถเคลื่อนที่ไปหลอมรวมกับเยื่อหุ้มอื่น ๆ ได้ การเกิดเวสิเคิลนี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับการขนส่งสารระหว่างออร์แกแนลล์ และการขนส่งสารออกนอกเซลล์ที่เรียกเอกโซไซโทซิส (Exocytosis) ตัวอย่างเช่น การที่รากเจริญไปในดิน เซลล์รากจะสร้างมูซิเลจ (Mucilage) ซึ่งเป็นสารสำหรับหล่อลื่น เซลล์สร้างมูซิเลจบรรจุในเวสิเคิล จากนั้นจะส่งเวสิเคิลนั้นมาหลอมรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์เพื่อปล่อยมูสิเลจออกนอกเซลล์ ในกรณีที่มีความต้องการขนส่งสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์จะเว้าเข้าไปด้านใน ก่อตัวเป็นเวสิเคิลหลุดเข้าไปในเซลล์ โดยมีสารที่ต้องการอยู่ภายในช่องว่างของเวสิเคิล การขนส่งแบบนี้เรียกเอ็นโดไซโตซิส (Endocytosis)
ภาพที่ 3.13 เยื่อหุ้มนิวเคลียส
แหล่งที่มารูปภาพ https://www.emaze.com/@AORTRIRFR/Make-a-Change

นอกจากนั้น เยื่อหุ้มยังทำหน้าที่เป็นเยื่อเลือกผ่าน ยอมให้เฉพาะสารที่เซลล์ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้เท่านั้นผ่านเข้าออกได้ การแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เกิดขึ้นได้ดีกับสารที่ละลายในไขมันได้ดี ส่วนสารอื่น ๆ เช่น ธาตุอาหาร เกลือ น้ำตาล ที่แพร่เข้าเซลล์ไม่ได้ จะใช้การขนส่งผ่านโปรตีนที่เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบที่ใช้และไม่ใช้พลังงาน
หน้าที่ห่อหุ้มของเหลวและออร์แกเนลล์ ส่วนใหญ่เอาไว้ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์ และภายในเซลล์ออกสู่สิ่งแวดล้อม เป็นที่ยึดจับของสารโครงร่างเซลล์ (cytoskeletal) ทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้เป็นบริเวณรับ (receptor) ของสารบางชนิดไซโทสเกเลตัน ทำให้เกิด การประสานระหว่าง แมทริกซ์นอกเซลล์ และไซโทพลาซึมภายในเซลล์ขึ้น


ความหมายและความสำคัญของวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว

ภาพที่ 3.14 การเคลื่อนไหว
ที่มาของรูปภาพ https://sufitya.wordpress.com

วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว(kinesiology) เป็นการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาในเรื่องการเคลื่อนไหวของมนุษย์โดยใช้องค์ความรู้ที่สำคัญทางด้านกายวิภาคศาสตร์1 กลศาสตร์2 และสรีรวิทยา3 เข้ามาประยุกต์ใช้ ดังนั้นวิชานี้จึงเกี่ยวข้องกับกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยาของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก และองค์ความรู้ในวิชากลศาสตร์โดยเฉพาะศาสตร์ที่เรียกว่า ชีวกลศาสตร์ หากพิจารณาในแง่ความสำคัญของวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวในภาพรวมที่เกี่ยวข้องกับการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวมาประยุกต์ใช้ในการเล่นกีฬาแล้วสรุปได้ดังนี้



หลักการและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมกีฬา

เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมกีฬาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ควรได้ทำความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องดังนี้ 
1. กายวิภาคศาสตร์ ( anatomy ) หมายถึง การศึกษาโครงสร้างรูปร่าง ลักษณะตำแหน่งที่ตั้งของอวัยวะต่างๆ ซึ่งในที่นี้จะเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับร่างกายของคนเรา
ภาพที่ 3.15 กายวิภาคศาสตร์ กระดูกและกล้ามเนื้อ
แหล่งที่มารูปภาพ https://suwanun41.files.wordpress.com/2015/09/anatomy-1.png

            2. กลศาสตร์ ( mechanics ) หมายถึง การศึกษาในเรื่องปฏิกิริยาของแรงที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว
            3. สรีรวิทยา ( physiology ) หมายถึง การศึกษาถึงหน้าที่การทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการทำงานของอวัยวะต่างๆ
ภาพที่ 3.16 ร่างกายมนุษย์
แหล่งที่มารูปภาพ http://www.medsci.up.ac.th/v2/index.php/home/left-innerleft-center/

            4. ชีวกลศาสตร์ ( biomechanics ) หมายถึง การนำความรู้ในวิชาฟิสิกส์และกลศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการใช้แรงภายในการเคลื่อนไหวร่างกายของตนเอง และการใช้แรงปะทะกับแรงภายนอกของคนเราในขณะมีการเคลื่อนไหว
ภาพที่ 3.17 การใช้แรงเคลื่อนไหวเพื่อเสิร์ฟวอลเลย์บอล
แหล่งที่มารูปภาพ http://lingnoy12.eu5.org/wp-content/uploads/2014/10/t6.jpg

รูปแบบและทักษะการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในกิจกรรมกีฬา
          รูปแบบและทักษะการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในกิจกรรมกีฬา สรุปได้ดังนี้

1.   รูปแบบการเคลื่อนไหวในกิจกรรมกีฬา มี 3 รูปแบบสำคัญ ได้แก่ การเคลื่อนไหวเชิงเส้น การเคลื่อนไหวเชิงมุม และการเคลื่อนไหวแบบเชิงเส้นและเชิงมุมผสมผสานกัน โดยแต่ละรูปแบบมีรายละเอียด ดังนี้
1)  การเคลื่อนไหวเชิงเส้นหรือการเคลื่อนไหวแบบย้ายตำแหน่ง (translator motion or linear motion) หมายถึง การที่วัตถุหรือการที่ร่างกายของผู้เล่นเคลื่อนย้ายตำแหน่งจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ประกอบด้วย
(1)     การเคลื่อนไหวเชิงเส้นเป็นเส้นตรง (rectilinear motion) เช่น การนั่งในรถยนต์ที่เคลื่อนไปบนถนนที่เป็นเส้นตรงหรือการเคลื่อนของลูกโบว์ลิ่งที่ถูกโยนให้กลิ้งไปตามลู่ทางวิ่งของลูกโบว์ลิ่ง
(2)     การเคลื่อนไหวเชิงเส้นเป็นเส้นโค้ง (curvilinear motion) เช่น การเคลื่อนที่ของลูกบาสเกตบอลที่นักบาสเกตบอลโยนออกไปในวิถีโค้งเพื่อให้ลงห่วง
(3)     การเคลื่อนไหวแบบผสมผสานกัน (rectilinear combine curvilinear motion) โดยมีทั้ง รูปแบบ เช่น ท่าทางการเดินของคนเราเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีการเคลื่อนไหวแบบผสมผสานทั้งเส้นตรงและเส้นโค้ง เมื่อพิจารณาการเคลื่อนไหวร่างกายขณะเคลื่อนที่ไปในแต่ละส่วน
2)  การเคลื่อนไหวเชิงมุมหรือการเคลื่อนไหวโดยการหมุน (rotatory motion or angular motion)  เป็นการเคลื่อนไหวของวัตถุหรือขงร่างกายรอบจุดศูนย์กลางของการหมุน หรือ จุดศูนย์กลางของการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวเชิงมุมแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบประกอบด้วย
(1)     การเคลื่อนไหวแบบหมุนอยู่นอกแกนของวัตถุ (angular motion) เช่น การแกว่งตัวของนักกีฬายิมนาสติกรอบบาร์เดี่ยว
 (2)     การเคลื่อนไหวแบบหมุนโดยมีจุดหมุนซ้อนทับอยู่บนแกนกลางของจุดหมุน (rotation motion) เช่น การยืนตัวตรงหมุนบิดลำตัวสลับวนไปมาซ้าย-ขวา ในการทำท่ากายบริหาร
 (3)     การเคลื่อนไหวแบบเชิงเส้นและเชิงมุมผสมผสานกัน (combine motion) เป็นการเคลื่อนไหวที่มีรูปแบบการผสมผสาน ทั้งการเคลื่อนไหวแบบเชิงเส้นและเชิงมุมในขณะเดียวกัน ซึ่งหากวิเคราะห์จะพบว่า เป็นภาพรวมของการเคลื่อนไหวโดยทั่วไปของคนเรา และการเคลื่อนไหวในการเล่นกีฬา ซึ่งการเคลื่อนไหวเหล่านี้เป็นการเคลื่อนไหวแบบเชิงเส้นและเชิงมุมผสมผสานกัน

2.ทักษะการเคลื่อนไหวที่นำมาใช้ในกิจกรรมกีฬา ทักษะที่สำคัญในการนำมาใช้หรือเกิดขึ้นในการเล่นกีฬามี 3 รูปแบบ ประกอบด้วย
1) ทักษะการเคลื่อนไหวที่อยู่กับที่ เป็นเคลื่อนไหวร่างกายโดยไม่มีการย้ายตำแหน่ง เช่น การยืนก้ม-เงยของนักกีฬาในการทำท่ากายบริหาร
2) ทักษะการเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายโดยมีการย้ายตำแหน่ง เช่น การกระโดดไปข้างหน้า
3) ทักษะการเคลื่อนไหวแบบประกอบอุปกรณ์ เป็นทักษะที่มีการเคลื่อนไหวทั้งแบบเคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่โดยมีอุปกรณ์กีฬาประกอบขณะเคลื่อนไหว เช่น การยืนฝึกเล่นลูกบอลสองมือล่าง (ลูกอันเดอร์) อยู่กับที่แล้วเคลื่อนที่ไปมา
ภาพที่ 3.18 ทักษะการเคลื่อนไหวประกอบกับอุปกรณ์
แหล่งที่มารูปภาพ http://aunchalee1234.blogspot.com/2016/

การฝึกเล่นลูกบอลสองมือล่างในการฝึกทักษะกีฬาวอลเลย์บอล เป็นตัวอย่างทักษะการเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์
         อย่างไรก็ตามหากวิเคราะห์ถึงทักษะการเคลื่อนไหวที่นำมาใช้ในกิจกรรมกีฬาแล้ว ก็จะมีลักษณะเช่นเดียวกับรูปแบบการเคลื่อนไหว คือ เป็นทักษะการเคลื่อนไหวแบบผสมผสาน จึงสรุปได้ว่า รูปแบบและทักษะการเคลื่อนไหวที่นำมาใช้ในกิจกรรมกีฬาโดยภาพรวมจะเป็นรูปแบบแบบผสมผสานทั้งสิ้น



ระบบที่เกี่ยวข้องทางสรีรวิทยาออกกำลังกาย

โดยทั่วไปแล้ว ร่างกายของมนุษย์จะถูกแบ่งออกเป็น 7 ส่วน ได้แก่


            1.ศีรษะและลำคอ (Head and neck) ได้แก่ส่วนของร่างกายที่อยู่เหนือต่อช่องอก
            2.รยางค์บน (Upper limbs) ซึ่งรวมตั้งแต่ส่วนของไหล่ ต้นแขน ศอก ปลายแขน ข้อมือ และมือ
            3.หลัง (Back) คือโครงสร้างส่วนที่อยู่โดยรอบกระดูกสันหลังตั้งแต่ส่วนคอถึงก้นกบ
            4.ทรวงอก (Thorax) คือบริเวณตั้งแต่ส่วนที่อยู่ด้านล่างต่อลำคอ จนถึงกะบังลม
            5.ช่องท้อง (Abdomen) คือบริเวณตั้งแต่กะบังลมจนถึงขอบเชิงกรานและเอ็นขาหนีบ (inguinal ligament)
            6.อุ้งเชิงกรานและฝีเย็บ (Pelvis and perineum) ได้แก่บริเวณที่อยู่ใต้ขอบเชิงกรานลงไปจนถึงแผ่นปิดเชิงกราน (pelvic diaphragm) ส่วนฝีเย็บเป็นบริเวณโดยรอบทวารหนักและอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งอยู่ใต้แผ่นปิดเชิงกราน
            7.รยางค์ล่าง (Lower limbs) คือส่วนที่อยู่ใต้ต่อเอ็นขาหนีบ ซึ่งได้แก่ต้นขา เข่า น่อง ข้อเท้าจนถึงเท้า
            จากส่วนประกอบของโครงสร้างร่างกายทั้ง 7 ส่วน เมื่อแยกระบบการทำงานของเนื้อเยื่อและอวัยวะในร่างกายทั้ง 5 ระบบดังนี้

1.ระบบกระดูก (Skeleton System)
            ส่วนของโครงสร้างที่เป็นของแข็ง ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันเนื้อเยื่ออ่อนๆ (soft tissue) ของร่างกายสัตว์ประกอบด้วย bone, cartilage และ ligament
            ความสำคัญของ skeletal system เป็นส่วนหนึ่งหรือองค์ประกอบที่อยู่ใน locomotor apparatus (ส่วนประกอบที่ใช้ช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกายซึ่งก็คือ อวัยวะส่วนที่ประกอบกันเป็นตัวสัตว์เป็นโครงสร้าง ของร่างกายและทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
            โครงสร้างของกระดูก กระดูกมีลักษณะแห้งเมื่อพิจารณาที่เนื้อกระดูกจะเห็นว่ามีส่วนที่แตกต่าง ชัดเจนอยู่สองจุด จุดแรก มีลักษณะ แน่น เรียกว่า Compact bone ส่วนที่สองมีเนื้อ ที่เป็นรูพรุน เรียกว่า Spongy bone

            หน้าที่ของกระดูกที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย (Functions of bone) มีดังนี้
                        1.เป็นที่เกาะยึดของกล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้อวางตัวอยู่อย่างแข็งแรง
                        2.มีส่วนช่วยในการป้องกันอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ (heart), ปอด (lung), สมอง (brain) ไม่ให้ได้รับอันตรายหรือไม่ให้กระทบกระเทือน
                        3.สร้าง cell เม็ดเลือดพวกเม็ดเลือดแดง (rbc), เม็ดเลือดขาว (wbc), เกล็ดเลือด (platelet)
                        4.ช่วยในการเคลื่อนไหวและการหายใจเข้าและออก เช่น กระดูกซี่โครง (ribs)
                        5.รักษาระดับสมดุลแคลเซียม (calcium) ในเลือด

            กระดูกและกระดูกอ่อน (cartilage) หมายถึง ความแข็งแรงพอที่จะให้เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ เอ็น และเยื่ออ่อนอื่นๆ ได้จึงเป็นตัวการให้เกิดการเคลื่อนไหวได้ ในที่บางแห่งกระดูกต่อกัน เป็นโพรงล้อมรอบอวัยวะอื่นๆ เช่น สมอง ไขสันหลัง หัวใจ และปอด จึงทำหน้าที่ป้องกันอวัยวะสำคัญๆต่างๆ ภายในกระดูกเป็นที่อยู่ของไขกระดูกสำหรับสร้างเม็ดเลือดชนิดต่างๆ กระดูกมีมีเกลือแร่ต่างๆ เช่น แคลเซียมฟอสเฟต ประกอบอยู่ด้วย เกลือแร่เหล่านสามารถละลายไปสู่เลือดได้ เมือร่างกายติองการ กระดูกจึงเป็นที่เก็บแคลเซียมไว้คาย

            กระดูกเป็นสิ่งมีชีวิต และประกอบด้วยเซลล์และเส้นใยพังผืดคอลลาเจน (collagen) โดยมีเกลือแร่ฝังตาแทรกอยู่ทำให้กระดูกมีความแข็ง และความยืดหยุ่นด้วย ถ้ากระดกถูกเอาเกลือแร่ออก โดยแช่ในกรดอ่อนๆ เหลือแต่เส้นใยพังผืดกระดูกยังคงรูปอยู่ได้ และสามารถงอม้วนจนผูก
เป็นปมได้ ถ้าเส้นใยพังผืดนี้ถูกทำลายไปโดยการเผา กระดูกก็คงรูปอยู่ได้แต่เปราะและไม่ยืดหยุ่น

            กระดูกอาจแบ่งเป็นหลายชนิด ตามลักษณะและรูปร่างของกระดูก
                        1.กระดูกยาว พบได้ที่กระดูกต้นแขน แขนท่อนปลาย ต้นขา และขา กระดูกฝ่ามือ ฝ่าเท้า กระดูกนิ้วมือนิ้วเท้าเป็นกระดูกยาวขนาดเล็ก ในส่วนลำ (shaft) ของกระดูกยาว เรียงตัวกันเป็นรูปทรงกระบอก ตรงกลางเป็นโพรง ที่ขอบๆกระดูกเป็นเนื้อแน่น ปลายทั้งสองของกระดูกยาวมักโตกว่าส่วนลำ มีกระดูกเนื้อแน่นบางๆ อยู่ที่ขอบ ภายในเป็นชิ้นกระดูกเล็กๆ ติดต่อกันคล้ายฟองน้ำเรียกว่า กระดูกฟองน้ำ
                        2.กระดูกสั้น ได้แค่ กระดูกข้อมือ กระดูกข้อเท้า กระดูกสั้นไม่มีส่วนลำ แต่จะมีกระดูกเนื้อแน่นบางๆ อยู่ที่ขอบภายในเป็นกระดูกฟองน้ำ
                        3.กระดูกแบน ได้เก่ กระดูกซี่โครง กระดูกสะบัก และกระดูกสะบักด้านบนของกะโหลกศีรษะ ประกอบด้วยกระดูกเนื้อแน่นสองแผ่นภายในเป็นกระดูกฟองน้ำ
                        4.กระดูกรูปร่างไม่แน่นอน ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกส่วนฐานของกะโหลก ซึ่งมีรูปร่างจัดอยู่ในพวกดังกล่าวแล้วไม่ได้
            
             ในสัตว์บางชนิด เช่น นก มีกระดูกหลายชิ้นที่มีโพรงอากาศภายในติดต่อกับระบบหายใจ เพื่อทำให้กระดูกเบา แต่แข็งแรงเรียกว่า กระดูกมีโพรงอากาศ ในคน กระดูกกะโหลก ศีรษะหลายชิ้นที่มีโพรงอากาศภายใน เรียกว่า โพรงอากาศ (air sinus) ซึ่งติดต่อกับโพรงจมูก จึงรับเชื้อโรคจากโพรงจมูกได้บ่อย ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น เรียกว่า โพรงอากาศอักเสบ (sinusitis)
            
             กระดูกอาจจะแบ่งตามตำแหน่งที่อยู่ก็ได้ คือ
                        1.กระดูกลำตัว (axial skeleton) ประกอบด้วยกระดูกสันหลัง กระดูกอก กระดูกซี่โครง ๑๒ คู่ กระดูกกะโหลกศีรษะ รวมทั้งกระดูกขากรรไกรล่าง
                        2.กระดูกแขนขา (apperdicular skeleton) ที่แขนนั้นประกอบด้วย กระดูกไหปลาร้า กระดูกสะบัก กระดูกต้นแขน กระดูกแขนท่อนปลาย กระดูกข้อมือ (๘ ชิ้น) กระดูกฝ่ามือ (๕ ชิ้น) และกระดูกนิ้วมือ (นิ้วหัวแม่มือ ๒ ชิ้น นิ้วอื่นๆ ๓ ชิ้น) ส่วนที่ขาประกอบด้วย กระดูกสะโพก กระดูกต้นขา กระดูกขา (๒ ชิ้น) กระดูกข้อเท้า (๗ ชิ้น) กระดูกฝ่าเท้า (๕ ชิ้น) กระดูกนิ้วเท้า (นิ้วหัวแม่เท้า ๒ ชิ้น นิ้วอื่นๆ ๓ ชิ้น)
                        
             โครงกระดูกมนุษย์ ประกอบไปด้วยกระดูกชิ้นต่างๆในร่างกาย ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยโครงสร้างของข้อต่อ เอ็น กล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน และอวัยวะต่างๆ กระดูกในมนุษย์ผู้ใหญ่มีประมาณ 206 ชน และคิดเป็นประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักร่างกาย อย่างไรก็ดี จำนวนของกระดูกอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทารกแรกเกิดจะมีกระดูกจำนวนประมาณ 300 ชิ้น ซึ่งต่อมากระดูกบางชิ้นจะมีการเชื่อมรวมกันระหว่างการเจริญเติบโต เช่นส่วนกระเบนเหน็บและส่วนก้นกบของกระดูกสันหลัง นอกจากนั้นทารกแรกเกิดยังมีโครงสร้างของกระดูกอ่อนอยู่มาก เพื่อให้มีการสร้างโครงสร้างของกระดูกระหว่างการเจริญเติบโต และจะมีการพัฒนาไปเป็นกระดูกทั้งหมด เมื่อสิ้นสุดช่วงวัยรุ่นกระดูกจะติดต่อกับกระดูกอีกชิ้น และประกอบเข้าด้วยกันเป็นโครงกระดูกด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นในกระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) ซึ่งเป็นกระดูกที่ไม่ติดต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆโดยตรง แต่จะยืดไว้ในบริเวณส่วนบนของคอหอยด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อใกล้เคียง กระดูกชิ้นที่ใหญ่ที่สุดในมนุษย์คือกระดูกต้นขา (Femur) ในขณะที่กระดูกชิ้นเลกที่สุดคือกระดูกโกลน (Stapes) ซึ่งเป็นกระดูกของหูชิ้นกลางชิ้นหนึ่ง

            ประเภทของโครงกระดูก
                        โครงกระดูกในมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ คือโครงกระดูกแกน และโครงกระดกรยางค์ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการที่ซับซ้อนมีอวัยวะต่างๆทำงานสอดคล้องกันเป็นระบบกระดูกคนเรามีทั้งหมด 206 ชิ้น แบ่งประเภทได้ดังนี้
                        โครงกระดูกแกนในผู้ใหญ่ประกอบด้วยกระดูกจำนวน 80 ชิ้น ซึ่งวางตัวในแนวแกนกลางของลำตัว ซึ่งได้แก่ 
                                                   กะโหลกศีรษะ (Skull) มีจำนวน 22 ชิ้น
                                                   กระดูกหู (Ear ossicles) จานวน 6 ชิ้น
                                                   กระดูกโคนลิน (Hyoid bone) 1 ชิ้น
                                                   กระดูกสันหลัง (vertebral column) จานวน 26 ชิ้น
                                                   กระดูกซี่โครง (Ribs) จำนวน 24 ชิ้น
                                                   กระดูกอก (Sternum) 1 ชิ้น

ภาพที่ 3.19 กะโหลกศีรษะของมนุษย์
แหล่งที่มีรูปภาพ www.bigstockphoto.ro


            โครงกระดูกแกน (axial skeleton)
                        1.กระดูกกะโหลกศีรษะ (Cranium) กระดูกหน้าผาก (Frontal bone) 1 ชิ้น กระดูกด้านข้างศีรษะ (Parietal bone) 2 ชิ้น กระดูกขมับ (Temporal bone) 2 ชนกระดูกท้ายทอย (Occipital bone) 1 ชิ้น กระดูกขื่อจมูก (Ethmoid bone) 1 ชิ้น กระดูกรูปผีเสือ (Sphenoid bone) 1 ชิ้น
                        2.กระดูกใบหน้า (Bone of face) กระดูกสันจมูก (Nasal bone) 2 ชิ้น กระดูกกั้นช่องจมูก (Vomer) 1 ชิ้น กระดูกข้างในจมูก (Inferior concha) 2 ชิ้น กระดูกถุงน่าตา (Lacrimal bone) 2 ชิ้น กระดูกโหนกแก้ม (Zygomatic bone) 2 ชิ้น กระดูกเพดาน (Palatine bone) 2 ชิ้น กระดูกขากรรไกรบน (Maxillary) 2 ชิ้น กระดูกขากรรไกรล่าง (Mandible) 1 ชิ้น
                        3.กระดูกหู (Bone of ear) กระดูกรูปฆ้อน (Malleus) 2 ชิ้น กระดูกรูปทั่ง (incus) 2 ชิ้น กระดูกรูปโกลน (Stapes) 2 ชิ้น
                        4.กระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) 1 ชิ้น
                        5.กระดูกสันหลัง (Vertebrae) 26 ชิ้น ได้แก่ กระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical vertebrae) 7 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic vertebrae) 12 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar vertebrae) 5 ชิ้น กระดูกกระเบนเหน็บ (Sacrum) 1 ชิ้น กระดูกก้นกบ (Coccyx) 1 ชิ้น
                        6.กระดูกทรวงอก (Sternum) 1 ชิ้น
                        7.กระดูกซี่โครง (Rib) 24 ชิ้น

            โครงกระดูกรยางค์ (appendicular skeleton)
                        โครงกระดูกรยางค์ในผู้ใหญ่จะมีทั้งหมด 126 ชิ้น ซึ่งจะอยู่ในส่วนแขนและขาของร่างกายเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว โดยจะแบ่งออกเป็น 6 ส่วนได้แก่ กระดูกส่วนไหล่ (Shoulder girdle)  4 ชิ้น กระดูกแขน (Bones of arms) 6 ชิ้น กระดูกมือ (Bones of hands) จำนวน 54 ชิ้น กระดูกเชิงกราน (Pelvic girdle) 2 ชิ้น กระดูกขา (Bones of legs) 8 ชิ้น กระดูกเท้า (Bones of feet) 52 ชิ้น

2 ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System)

            กล้ามเนื้อ (Muscle)เป็นเนื้อเยือที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชิ้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนังของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็น กล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะกายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือ การบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของ ร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการ กลอกตา หรือ การหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา

            ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ได้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ถ้าได้ง่ายระบบกล้ามเนื้อเป็นระบบที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยจะอาศัยคุณสมบัติการหดตัวของใยกล้ามเนื้อ ทำให้กระดูกและข้อต่อเกิดการเคลื่อนไหว และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน นอกจากการเคลื่อนไหวของกระดูกและข้อต่อแล้ว ยังมีการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ การบีบตัวของเส้นโลหิต การบีบตัวของกระเพาะอาหาร ลำไส้ และการทำงานของปอด เป็นต้น การเคลื่อนไหวต่างๆ เหล่านี้เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อทั้งสิ้น กล้ามเนื้อเป็นส่วนประกอบใหญ่ของร่างกายมนุษย์ และเป็นส่วนสำคัญที่สุดทำหน้าที่ในขณะ ทีมีการเคลื่อนไหว ของร่างกาย หรือ เพียงบางส่วน เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น กล้ามเนื้อในร่างกายทั้งหมดมีน้ำหนักประมาณ 2/5 ของน้ำหนัก ตัวส่วนใหญ่อยู่บนรอบแขนและขา ซึ่งยึดติดกันอยู่โดยอาศัยข้อต่อ (Joints) และเอ็น (Tendon) ทำให้ร่างกายประกอบเป็นรูปร่างและทรวดทรงขึ้นมาอย่างเหมาะสม

ชนิดของกล้ามเนื้อ
                        2.1 กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ พบที่อวัยวะภายในของร่างกายเช่น หลอดอาหาร หลอดเลือด เป็นต้น เซลล์มีรูปร่างคล้ายกระสวย แต่ละเซลล์ มีนิวเคลียสอันเดียวอยู่ตรงกลางเซลล์ เซลล์ไม่มีลาย ตามขวาง ตรงรอยต่อของเยื่อหุ้มเซลล์ บางส่วนจะมีบริเวณถ่ายทอดคลื่นประสาทเรียกว่า อินเตอร์คอนเนกติง บริดจ์(interconnecting bridge) เพื่อถ่ายทอดคลื่นประสาทไปยังเซลล์ข้างเคียง การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้อยู่นอกอำนาจจิตใจ การหดตัวเกิดได้เองโดยมีเซลล์เริ่มต้นการทำงาน (pace maker cell point) และการหดตัวถูกควบคุม โดยระบบประสาทอัตโนมัติ ดังนั้นกล้ามเนื้อชนิดนี้ปลายประสาทจึงไม่ได้ไปเลี้ยงทุกเซลล์ ยกเว้นกล้ามเนื้อเรียบในบางส่วนของร่างกายมีปลายประสาทไปเลี้ยงทุกเซลล์ เช่น กล้ามเนื้อในลูกตา กล้ามเนื้อชนิดนี้เรียกว่ากล้ามเนื้อเรียบหลายหน่วย (multiunit smooth muscle) ส่วนกล้ามเนื้อเรียบ ชนิดแรกทีกล่าวถึง ในตอนต้นเรียกว่ากล้ามเนื้อหน่วยเดียว


ภาพที่ 3.20 กล้ามเนื้อเรียบ
แหล่งที่มารูปภาพ http://mwits22r9.blogspot.com/


                        2.2 กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะอยู่กับกระดูก และมีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย กล้ามเนื้อลายประกอบด้วยเซลล์ลักษณะเป็นเส้นยาวจึงเรียกว่า ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ความยาวของใยกล้ามเนื้อจะเท่ากับมัดกล้ามเนื้อที่ใยกล้ามเนื้อนั้นเป็น องค์ประกอบอยู่ ใยกล้ามเนื้อมีลายตามขวางและมีเยื่อหุ้มเซลล์ เรียกว่า ซาร์โค เลมมา (sarcolemma) ซึ่งมีเนื้อเยื่อประสานหุ้มอีกชั้นหนึ่งเรียกว่า เอนโดไมเซียม (endomysium) ใยของกล้ามเนื้อลายมีนิวเคลียสหลายอันอยู่ด้านข้างของเซลล์ เรียงตัวกันเป็นระยะตลอดแนวความยาวของเซลล์แต่ละเซลล์มีปลายประสาทมาเลี้ยง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการหดตัว ใยกล้ามเนื้อลายประกอบด้วยเส้นใยขนาดเล็กเรียกวา ไมโอไฟบาล (myofibril) แต่ละไมไฟบาลประกอบด้วยฟิลาเมนท์ (filament) ซึ่ง มี 2 ชนิด คือ ชนิดหนา (thick filament) และชนิดบาง (thin filament) ใยกล้ามเนื้อหลายใยรวมกันเป็นมัดกล้ามเนื้อ และมีเนื้อเยื่อประสานหุ้มเรียกว่า เพอริไมเซียม (perimysium) มัดของกล้ามเนื้อขนาดเล็กนี้รวมกันเป็นมัดใหญ่และ มีเนื้อเยื่อประสานเรียกว่า อีพิไมเซียม (epimysium)หุ้มอยู่ การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้อยู่ในอำนาจจิตใจจึงเรียกว่า กล้ามเนื้อโวลันทารี (voluntary muscle)





ภาพที่ 3.21 กล้ามเนื้อลาย
แหล่งที่มารูปภาพ http://mwits22r9.blogspot.com/

                        2.3 กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ พบทีหัวใจเพียงแห่งเดียวกล้ามเนื้อหัวใจมีเซลล์เป็นเส้นใยยาว มีลายตามขวาง เซลล์เรียงตัวหลายทิศทางและเซลล์มีแขนงเชื่อมเซลล์อื่นเรียกว่า อินเตอร์คาเลทเตท ดิสค์ (intercalated disc) มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางเซลล์เป็นรูปไข่ เซลล์บางกลุ่มเปลี่ยนแปลงหน้าที่ไปเป็นเซลล์นำคลื่นประสาท (special conducting system) ซึ่งได้แก่ เอ-วีบันเดิล (A-V bundle) และเส้นใยเพอร์คินเจ (perkinje fiber) การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอยู่นอกอำนาจจิตใจ และทำงานได้เอง
ภาพที่ 3.22 กล้ามเนื้อหัวใจ
แหล่งที่มารูปภาพ http://mwits22r9.blogspot.com/

คุณสมบัติของกล้ามเนื้อ
                        1.มีความรู้สึกต่อสิ่งเร้า (Irritability) คือ สามารถรับ Stimuli และตอบสนองต่อ Stimuli โดยการหดตัวของ กล้ามเนื้อ เช่น กระแสประสาทที่กล้ามเนื้อเวลาที่จับโดนความร้อนหรือกระแสไฟฟ้า เรามักมีการหนีหรือหลบเลี่ยง
                        2.มีความสามารถที่จะหดตัวได้ (Contractility) คือ กล้ามเนื้อสามารถเปลี่ยนรูปร่างให้สั้นหนา และแข็งได้
                        3.มีความสามารถที่จะหย่อนตัวหรือยืดตัวได้ (Extensibility) กล้ามเนื้อสามารถที่จะเปลี่ยนรูปร่างให้ยาวขึ้นกว่าความยาวปกติของมันได้เมื่อถูกดึง เช่น กระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ มดลูก เป็นต้น
                        4.มีความยืดหยุ่นคล้ายยาง (Elasticity) คือ มีคุณสมบัติที่เตรียมพร้อมที่จะกลับคืนสู่สภาพ เดิมได้ ภายหลังการ ถูกยืดออกแล้ว ซึ่งคุณสมบัตินี้ทำให้เกิด Muscle Tone ขึ้น
                        5.มีความสามารถที่จะดำรงคงที่อยู่ได้ (Tonus) โดยกล้ามเนื้อมีการหดตัว บ้างเล็กน้อย เพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานอยู่เสมอ

            การหดตัวของกล้ามเนื้อ หดตัวของกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีกระตุ้น กลไก การหด ตัวของกล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อหัวใจจะคล้ายกัน ในมนุษย์การทำงานของกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการกระตุ้นของระบบประสาท หรือกระตุ้นโดยความร้อนหรือสารเคมี หรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็แล้วแต่กล้ามเนื้อจะหดตัวได้ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงศักย์ไฟฟ้า ขณะเซลล์ทำงาน (Action potential) ซึ่งเกิดขึ้นที่บริเวณเยื่อแผ่นของเส้นใยของกล้ามเนื้อรวมทั้งต้องอาศัยพลังงานอย่างมาก

            การใช้พลังงานในการทำงานของกล้ามเนื้อ
                        ATP คือ สารเคมีที่มีการเก็บสะสมพลังงานไว้ในพันธะเคมีภายในโมเลกุล ซึ่งนับเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของเซลล์ ประกอบด้วยเบสอะดีนีนและน้ำตาลไรโบส แล้วจึงต่อด้วยหมู่ฟอสเฟต 3 หมู่ขณะที่สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่เซลล์ก็จะสลาย
                        ATP = Adenosine triphosphate และเปลี่ยนไปเป็น
                        ADP = Adenosine diphosphate เพื่อให้ได้พลังงานสำหรับใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ
            ร่างกายใช้พลังงานจาก ATP ที่มีสะสมอยู่ก่อน จากนั้นจะมีการสร้าง ATP กลับขึ้นมาใหม่ โดยวิธีการดังต่อไปนี้
            1.ระบบ ATP-CP เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในช่วง 30 วินาทีแรก ใช้พลังงานจาก creatinine phosphate ไม่ใช้ออกซิเจน ไม่เกิดกรดแลคติกสะสมในกล้ามเนื้อ
            2.ระบบแอนแอโรบิก เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในช่วง 30-90 วินาที ใช้พลังงานจาก glycogen และ glucose ไม่ใช้ออกซิเจน และเกิด metabolic by product เป็นกระแลคติก
            3.ระบบแอโรบิก เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ เมื่ออกกำลังกายต่อเนื่องนานเกินกว่า 2-3 นาที เป็นต้นไป ใช้พลังงานจากกลูโคส ไขมัน โปรตีน ต้องใช้ออกซิเจนในการสังเคราะห์มีความสามารถสูงสุดในการสร้าง ATP โดยทั่วไปการออกกำลังกายแบบแอโรบิก {Aerobic Exercise) เป็นการออกกำลังกายที่เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และต้องออกกำลังกายติดต่อกันในช่วงระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 20 นาที กิจกรรมการออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น วิ่งหรือว่ายน้ำระยะไกล การปั่นจักรยานทางไกล การเต้นแอโรบิคหรือกิจกรรมกีฬาอะไรก็ได้ที่มีการเคลื่อนที่ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง และมีอัตราการเต้นของหัวใจมากกว่าอัตราการเต้นใจขณะพัก
แหล่งพลังงาน
การเผาผลาญ
ปริมาณของการสำรองพลังงาน
ความเร็วของการสำรองพลังงาน
ครีเอตีน-ฟอสเฟต
แอนแอโรบิค อะเลคเตท
มีจำนวนจำกัดมาก
เร็วที่สุด
ไกลโครเจนหรือกลูโคส
แอนแอโรบิค แล็คเตท
มีจำนวนจำกัด
เร็ว
ไกลโครเจนหรือกลูโคส
แอโรบิค
มีจำนวนจำกัด
ช้า
กรดไขมัน
แอโรบิค
มีจำนวนไม่จำกัด
ช้า (เอื่อย)

ตารางที่ 3.1 แสดงสารอาหารที่ใช้ในการสำรองพลังงานและคุณลักษณะที่สำคัญ
แหล่งที่มาตาราง หนังสือวิทยาศาสตร์การกีฬาและออกกำลัง หน้า 72

3 ระบบประสาท (Nervous System)
            ระบบประสาท คือระบบการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสัตว์ทำให้สัตว์สามารถตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวอย่างรวดเร็ว ช่วยรวบรวมข้อมูลเพื่อให้สามารถตอบสนองได้ สัตว์ชั้นต่ำบางชนิด เช่น ฟองน้ำ ไม่มีระบบประสาท สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิดเริ่มมีระบบประสาท สัตว์ชั้นสูงขึ้นมาจะมีโครงสร้างของระบบประสาทซับซ้อนยิ่งขึ้น

            ระบบประสาท มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่างๆ (action) ให้อวัยวะต่างๆ ทำงาน ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาตหรือตายได้

            โครงสร้างเบื้องต้นของระบบประสาท
            เซลล์ประสาท ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน
                        1.ตัวเซลล์ เป็นส่วนของไซโทพลาสซึมและนิวเคลียส ตัวเซลล์มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-25 ไมโครเมตร ภายในออร์แกเนลล์ที่สำคัญ คือ ไมโทคอนเดรีย เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมและกอลจิคอมเพล็กซ์ จำนวนมาก
                        2.ใยประสาท ที่นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์ เรียกว่า เดนไดรต์ (dendrite) ใยประสาทนำกระแสประสาทออกจาตัวเซลล์ เรียกว่า แอกซอน (axon) เซลล์ประสาทแต่ละเซลล์จะมีเดนไดรต์แยกจากตัวเซลล์หนึ่งใยหรือหลายใย ส่วนแอกซอนมีเพียงใยเดียวเท่านั้น


ภาพที่ 3.23 เซลล์ประสาท

แหล่งที่มารูปภาพ https://www.slideshare.net/KPainapa/ss-58250682



            กรณีใยประสาทยาวซึ่งมักเป็นใยประสาทของแอกซอนจะมีเยื่อไมอีลิน (myelin sheath) มาหุ้มใยประสาท เยื่อไมอีลินมีสารจะวกลิพิดเป็นองค์ประกอบเมื่อตรวจดูภาพตัดขวางของเยื่อไมอีลินด้วยกล้องจุลทรรสน์อิเล็กตรอน พบว่าเยื่อไมอีลินติดต่อกับเซลล์ชวันน์ (schwann cell) ซึ่งเป็นเซลล์ค้ำจุนชนิดหนึ่งแสดงว่าเยื่อไมอีลินเป็นส่วนหนึ่งของเยื่อหุ้มของเซลล์ชวันน์แต่ละเซลล์เป็นบริเวณที่ไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้มเรียกว่า โนด ออฟ แรนเวียร์ (node of Ranvier)


ภาพที่ 3.24 โครงสร้างของระบบประสาท


แหล่งที่มารูปภาพ http://www.krusarawut.net/wp/?p=4053



            เซลล์ประสาทจำแนกตามหน้าที่ได้ 3 ชนิด ได้แก่

                        1.เซลล์ประสาทรับความรู้สึก (sensory neuron) คือ เซลล์ประสาทที่รับกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึก แล้วถ่ายทอดกระแสประสาทไปยังเซลล์ประสาทสั่งการ อาจผ่านเซลล์ประสาทประสานงานหรือไม่ผ่านก็ได้เซลล์เหล่านี้มีตัวเซลล์อยู่ที่ปมประสาทรากบนของไขสันหลัง

                        2.เซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron) มักมีใยประสาทแอกซอนยาวกว่าเดนไดรต์อาจยาวถึง 1 เมตร เพราะเซลล์ประสาทสั่งการที่อยู่ในไขสันหลังต้องส่งกระแสประสาทออกจากไขสันหลัง เพื่อนำกระแสประสาทไปยังหน่วยปฏิบัติงาน เช่น กล้ามเนื้อแขนขา ซึ่งอยู่ห่างไกลจากไขสันหลังมาก
                        3.เซลล์ประสาทประสานงาน (association neuron) เซลล์ประสาทชนิดนี้อยู่ภายในสมองและไขสันหลัง จะเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทรับความรู้สึก กับเซลล์ประสาทสั่งการใยประสาทของเซลล์ประสาทประสานงานอาจมีความยาวเพียง 4-5 ไมโครเมตรเท่านั้น

            เซลล์ประสาทแบ่งตามจำนวนแขนงที่แยกออกจากตัวเซลล์ แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
                        1.เซลล์ประสาทขั้นเดียว (unipolar neuron) เซลล์ประสาทประเภทนี้ส่วนของแอกซอนและเดนไดรต์ที่ใกล้ๆ ตัวเซลล์จะรวมเป็นเส้นเดียวกัน ทำให้มีแขนงแยกออกจากตัวเซลล์เพียงแขนงเดียว เดนไดรต์มักจะยาวกว่าแอกซอนมากพบที่ปมประสาทรากบน (dorsal root ganglion) ของไขสันหลัง
                        2.เซลล์ประสาทสองขั้ว (bipolar neuron) เซลล์ประสาทมีแขนงแยกออกมาเป็น 2 แขนง โดยแขนงหนึ่งเป็นแอกซอน และอีกแขนงหนึ่งเป็นเดนไดรต์ ความยาวของแขนงทั้งสองนี้ใกล้เคียงกัน พบได้ที่เรตินาของลูกตา คอเคลียของหูและเยื่อดมกลิ่นของจมูก เซลล์ประสาทขั้นเดียวและเซลล์ประสาทสองขั้ว มักจะทำหน้าที่เป็นเซลล์ประสาทรับความรู้สึก
                        3.เซลล์ประสาทหลายขั้ว (multipolar neuron) เซลล์ประสาทจะมีหลายแขนงโดยเป็นแอกซอน 1 แขนง และเป็นเดนไดรต์ 2 หรือมากกว่าเซลล์ประสาทส่วนใหญ่ของร่างกายเป็นเซลล์ประสาทหลายขั้ว พบได้ในสมอง และไขสันหลัง มีแอกซอนยาว และเดนไดรต์สั้น ทำหน้าที่นำคำสั่งไปยังอวัยวะตอบสนอง

            การทำงานของระบบประสาท จำแนกได้ 3 ประเภท คือ
                        1.การทำงานของระบบประสาทสั่งการ การทำงานของเส้นประสาทในระบบประสาทรอบนอกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่รับความรู้สึก (sensory division) จะรับความรู้สึกจากภายในหรือภายนอกร่างกาย
ส่วนที่สั่งการ (motor division) ถ้าการสั่งการเกิดขึ้นกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับได้ เช่น กล้ามเนื้อยึดกระดูก ก็จัดเป็นระบบประสาทโซมาติก (somatic nervous system : SNS) ถ้าการสั่งการเกิดกับหน่วยปฏิบัติงานที่บังคับไม่ได้ เช่น อวัยวะภายในและต่อมต่างๆ ก็จัดเป็น ระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system : ANS)

                        2.ระบบประสาทโซมาติก (somatic nervous system : SNS) ระบบประสาทโซมาติกควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูก โดยเซลล์ประสาทรับความรู้สึกจะรับกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกผ่านเส้นประสาทไขสันหลัง หรือเส้นประสาทสมองเข้าสู่ไขสันหลังหรือสมอง และกระแสประสาทจะถูกส่งผ่านเส้นประสาทไขสันหลังหรือเส้นประสาทสมองไปยังหน่วยปฏิบัติงาน ซึ่งกล้ามเนื้อยึดกระดูก บางครั้งอาจทำงานโดยผ่านไขสันหลังเท่านั้น เช่น การกระตุกขาเมื่อเคาะหัวเข่าเบาๆ ระบบประสาทโซมาติก เป็นระบบที่ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลายหรือระบบประสาทในอำนาจจิตใจ (voluntary nervous system)  ได้แก่ เส้นประสาทสมองและเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่งมีใยประสาทนำคำสั่งไปควบคุมกล้ามเนื้อลาย การตอบสนองสิ่งเร้าที่มากระตุ้น เช่น กระตุกขาเมื่อเคาะหัวเข่าจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ เรียกว่า รีเฟล็กซ์ (reflex) กิริยาอาการที่แสดงออกมาเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นในระยะเวลาสั้นๆ เรียกว่า รีเฟล็กซ์แอกชั่น (reflex action) เป็นการตอบสนองของหน่วยปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นในทันทีทันใด โดยไม่มีการเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าเป็นการสั่งการของไขสันหลัง โดยไม่ต้องอาศัยคำสั่งจากสมอง

                        3.ระบบประสารทอัตโนมัติ (autonomic nervous system : ANS) เป็นระบบประสาทที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ (involuntary nervous system) เป็นระบบประสาทที่ควบคุมอวัยวะที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ เช่น กล้ามเนื้อเรียบและอวัยวะต่างๆ กล้ามเนื้อหัวใจที่หัวใจ และต่อมต่างๆ ให้ทำงานโดยอัตโนมัติ ทำให้ร่างกายดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติประกอบด้วย
            เส้นประสาทของระบบประสารทอัตโนมัติ มี 2 ตอน คือ
                        ตอนที่ 1 คือ เส้นประสาทหน้าปมประสาทหรือเซลล์ประสานก่อนแกงเกลีย มีเยื่อไมอีลินห่อหุ้ม เชื่อมระหว่างระบบประสาทส่วนกลางกับปมประสาทอัตโนมัติ
                        ตอนที่ 2 คือ เส้นประสาทหลังปมประสาทหรือเซลล์ประสาทหลังแกงเกลีย เป็นเส้นประสาทที่เชื่อมระหว่างปมประสาทอัตโนมัติกับอวัยวะตอบสนอง
            ปมประสาทอัตโนมัติ เป็นส่วนที่มีตัวเซลล์ประสาทของระบบประสารทอัตโนมัติ ที่อยู่นอกระบบประสาทกลางอยู่และเป็นตำแหน่งที่มีการไซแนปส์ของเซลล์ประสาทหน้าปมประสาทกับเซลล์ประสาทหลังปมประสาท

            เซลล์ประสาทอัตโนมัติ มี 2 เซลล์ ได้แก่
     -  เซลล์ประสาทหน้าปมประสาท มีตัวเซลล์อยู่ในไขสันหลังและมีแอกซอนไปสิ้นสุดที่ปมประสาทอัตโนมัติซึ่งเป็นจุดที่ไซแนปส์
     -  เซลล์ประสาทหลังปมประสาท มีตัวเซลล์ประสาทอยู่ในปมประสาทอัตโนมัติและมีแอกซอนอยู่ในอวัยวะตอบสนอง

            ระบบประสาทอัตโนมัติ แบ่งออกเป็น 2 ระบบ โดยมีลักษณะในการทำงานตรงกันข้าม คือ
     -  ระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nerve)
     -  ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nerve)

            ระบบประสาทของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
     -  ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system : CNS)
     -  ระบบประสาทส่วนปลาย หรือ ระบบประสาทรอบนอก (Peripheral nervous system : PNS




























ภาพที่ 3.25 ระบบประสาทของมนุษย์
แหล่งที่มารูปภาพ http://www.krusarawut.net/wp/?p=2282

การทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง
            สิ่งเร้าหรือการกระตุ้นจัดเป็นข้อมูลหรือเส้นประสาทส่วนกลาง เรียกว่า “กระแสประสาท” เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่นำไปสู่เซลล์ประสาททางด้านเดนไดรต์ และเดินทางออกอย่างรวดเร็วทางด้านแอกซอน แอกซอนส่วนใหญ่มีแผ่นไขมันหุ้มไว้เป็นช่วงๆ แผ่นไขมันนี้ทำหน้าที่เป็นฉนวนและทำให้กระแสประสาทเดินทางได้เร็วขึ้น ถ้าแผ่นไขมันนี้ฉีกขาดอาจทำให้กระแสประสาทช้าลง ทำให้สูญเสียความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อ เนื่องจากการรับคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลางได้ไม่ดีเป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของร่างกาย ซึ่งทำงานพร้อมกันทั้งในด้านกลไกและทางเคมีภายใต้อำนาจจิตใจ ซึ่งประกอบด้วย สมอง (brain) และ ไขสันหลัง (spinal cord) ซึ่งมีหน้าที่หลักในการควบคุมพฤติกรรม โดยเส้นประสาทหลายล้านเส้นจากทั่วร่างกายจะส่งข้อมูลในรูปกระแสประสาทออกจากบริเวณศูนย์กลางมีอวัยวะที่เกี่ยวข้องดังนี้

            สมอง (brain) สมองของคนมีน้ำหนักประมาณ 1.4 กิโลกรัม บรรจุอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ ซึ่งป้องกันสมองไม่ให้ได้รับการกระทบกระเทือน สมองประกอบด้วยเซลล์ประสาทมากกว่าร้อยละ 90 ของเซลล์ประสาททั้งหมดของร่างกาย โดยมีเซลล์ประสาทประสานงานเป็นส่วน ทำหน้าที่ควบคุมการทำกิจกรรมทั้งหมดของร่างกาย เป็นอวัยวะชนิดเดียวที่แสดงความสามารถด้านสติปัญญาการทำกิจกรรมหรือการแสดงออกต่างๆ และยังมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และรักษาสมดุลภายในร่างกาย (homeostasis)
            สมองประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด คือ
     -  เซลล์ประสาท (nerve cell หรือ นิวรอน ( neuron) เป็ฯเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบหลักของระบบประสาท
     -  เซลล์เกลีย (glia) เป็นเซลล์สำคัญรองจากนิวรอน มีหน้าที่ในการลำเลียงอาหารมาให้เซลล์ประสาท คอยดูแลและปกป้องนิวรอนหรือเซลล์ประสาท เป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะทำงาน (action potential)
            สมอง มี 2 ชั้น (ตรงข้ามกับไขสันหลัง)
     -  Gray matter เป็นที่อยู่ของกระแสประสาทและ axon ที่ไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม
     -  White matter เป็นที่อยู่ของ axon ที่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม เยื่อหุ้มสมอง (Menirges) 3 ชั้น
            ชั้นนอก (Pura mater) เหนียว แข็งแรงมากโดยมีหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือน
            ชั้นกลาง (Arachoid mater) เป็นเยื่อบางๆ
            ชั้นใน (Pia mater) มีเส้นเลือดแทรกมากมายทำหน้าที่ส่งอาหาร ไปเลี้ยงสมองในระหว่างชั้นกลางกับชั้นในจะมีการบรรจุของเหลวที่เรียกว่า น้ำเลี้ยงสมองไขสันหลัง โดยจะทำหน้าที่ให้สมองและไขสันหลังเปียกชื้นอยู่เสมอ
            ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ส่วน คือ
     -  White matter เป็นส่วนที่มีสีขาวรอบนอก ไม่มีเซลล์ประสาทจะมีเฉพาะใยประสาทที่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม
     -  Gray matter เป็นส่วนสีเทา ประกอบด้วยใยประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม และตัวเซลล์ประสาท ซึ่งมีทั้งประเภทประสานงานและนำคำสั่ง

            ศูนย์ควบคุมระบบประสาทสมอง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
     -  สมองส่วนหน้า (forebrain หรือ prosencephalon) ประกอบเทเลนเซฟาลอน (telencephalon) และไดเอนซาฟาลอน (diencephalon) เทเลนเซฟาลอนคือสมองใหญ่ (cerebrum) ส่วนไดเอนเซฟาลอนประกอบด้วยไฮโพทาลามัส (hypothalamus) ทาลามัส (thalamus)
     -  สมองส่วนกลาง (midbrain หรือ mesencephalon) ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของก้านสมองและเป็นจุดศูนย์กลางของรีเฟลกซ์เกี่ยวกับการมองเห็น (visual reflex) และรีเฟลกซ์เกี่ยวกับการได้ยิน
     -  สมองส่วนท้าย (hindbrain หรือ rhombencephalon) ประกอบด้วยเมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongate) เซรีเบลลัม (cerebellum) และพอนส์ (pons)

ภาพที่ 3.26 ส่วนประกอบของสมอง

แหล่งที่มารูปภาพ http://www.krusarawut.net/wp/?p=4053

สมองประกอบด้วยส่วนสำคัญ 9 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่
ซีรีบรัม (cerebrum) เป็นส่วนของสมองที่อยู่บนสุดของศีรษะ มีรูปร่างเป็นพูย้อย ตั้งแต่หน้าผากไปตามรูปของกะโหลกศีรษะจนถึงบริเวณท้ายทอย มีขนาดใหญ่ที่สุดประมาณ 80% ของสมองทั้งหมด บริเวณเปลือกนอกจะมีลักษณะเป็นรอยหยัก ยับย่นจีบ เป็นร่องลึก เรียกว่า คอร์เทกซ์ (Cortex) สมองแท้จะเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นศูนย์กลางในการควบคุมพฤติกรรมการเรียนรู้ ความจำ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล เป็นต้น ในส่วนของสมองแท้เองยังแบ่งออกได้อีก 4 ส่วนย่อย ซึ่งในแต่ละส่วนจะมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ดังนี้
พูสมองส่วนหน้า (frontal lobe) ในบริเวณนี้จะแบ่งออกได้อีก 2 ซีก คือ ซีกซ้าย (left hemisphere) และซีกขวา (right hemisphere) โดยมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย หรือเรียกส่วนนี้ว่าเขตมอเตอร์ (motor area) แต่การสั่งงานจะกลับด้านกัน คือสมองซีกซ้ายจะควบคุมการทำงานของอวัยวะด้านขวาของร่างกาย ส่วนสมองซีกขวาจะควบคุมการทำงานของอวัยวะด้านซ้ายของร่างกาย นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางของอารมณ์ การพูด ความคิด การจำ การเรียนรู้ และการใช้ภาษาอีกด้วย
พูสมองส่วนกลาง (parietal lobe) เป็นส่วนที่ค่อนมาทางด้านหลังส่วนบนใกล้กับเขตมอเตอร์ ทำหน้าที่รับความรู้สึกต่างๆ ทั่วไปของร่างกาย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเขตรับสัมผัส
พูสมองส่วนข้าง (temporal lobe) เป็นส่วนที่อยู่บริเวณด้านข้างของสมองตรงขมับ มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรับรู้ในด้านรส กลิ่น เสียง และความเข้าใจด้านภาษา หรืออาจเรียกส่วนนี้อีกอย่างว่าเขตรับฟัง (auditory)
พูสมองส่วนหลัง (occipital lobe) เป็นบริเวณที่อยู่ท้ายสุดของสมองแท้ตรงท้ายทอย มีหน้าที่ควบคุมการรับรู้ทางสายตาให้เกิดการมองเห็นภาพต่างๆ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน หรืออาจเรียกบริเวณส่วนนี้ว่า เขตการเห็น (visual area)

สมองเล็ก (cerebellum) เป็นสมองส่วนที่อยู่บริเวณท้ายทอยใต้สมองแท้ลงมา รูปร่างเหมือนใบไม้มีลักษณะเป็นรอยหยักย่นเช่นกัน แต่น้อยกว่าสมองแท้ ชั้นนอกเป็นสีเทา (gray matter) ส่วนชั้นในเป็นสีขาว (white matter) มีหน้าที่สำคัญคือช่วยให้อวัยวะต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของสมองสามารถทำงานประสานกันได้เป็นจังหวะเดียวกันเพื่อทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง หน้าที่อีกประการหนึ่งคือควบคุมการทรงตัวของร่างกาย เนื่องจากสมองเล็กเป็นตัวรับกระแสประสาทจากอวัยวะรับสัมผัสที่ใช้ควบคุมการทรงตัวซึ่งอยู่บริเวณหูชั้นใน ทำให้เกิดความสมดุลในขณะที่ร่างกายกำลังอยู่ในอิริยาบถต่างๆ

ทาลามัส (thalamus) เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากสมองแท้ลงมา ทำหน้าที่เป็นศูนย์รับกระแสประสาทความรู้สึกที่ถูกส่งมาจากอวัยวะต่างๆ ของร่างกายเข้าสู่ไขสันหลัง ผ่านก้านสมอง (medulla oblongata) พอนส์ และสมองส่วนกลาง (midbrain) ตามลำดับ จนถึงทาลามัส จากนั้นทาลามัสจะจัดการแยกกระแสประสาทเหล่านั้นเพื่อเข้าสู่สมองเขตต่างๆ อีกทอดหนึ่ง และเมื่อสมองสั่งการเช่นใด ทาลามัสจะรับคำสั่งนั้นส่งเข้าสู่สมองส่วนกลาง พอนส์ ก้านสมอง และสู่ไขสันหลัง พื่อส่งคำสั่งนั้นให้ไปมีผลต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เท่ากับว่าทาลามัสเป็นสถานีสุดท้ายในการจ่ายกระแสประสาทให้กับสมอง และเป็นสถานีแรกที่รับคำสั่งจากสมองเพื่อจ่ายไปสู่อวัยวะต่างๆ นอกจากนี้ทาลามัสยังทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กแรกเกิดในขณะที่สมองแท้ยังทำงานได้ไม่เต็มที่อีกด้วย

ไฮโปทาลามัส (hypothalamus) อยู่ใต้ทาลามัสลงมาใกล้กับต่อมไร้ท่อพิทูอิทารี (pituitary gland) เป็นกลุ่มของเซลล์สมองที่มีขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา ไฮโปทาลามัสถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบลิมบิก (limbic system) และมีหน้าที่สำคัญในการสร้างความสมดุลให้กับระบบการทำงานของร่างกาย เช่น ควบคุมการทำงานของต่อมพิทูอิทารี รักษาระดับความสมดุลของอุณหภูมิร่างกาย การหายใจ การหลับ การตื่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือด ควบคุมความสมดุลในการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมแรงขับ (drive) ต่างๆ เช่น ความหิว ความกระหายความต้องการทางเพศ เป็นต้น ความสำคัญของไฮโปทาลามัสนี้เองบางครั้งจึงได้รับสมญานามว่า ผู้พิทักษ์ร่างกาย (guardian of body)

ระบบลิมบิก (limbic system) เป็นเซลล์ประสาทที่กระจายอยู่โดยรอบทาลามัสและ ไฮโปทาลามัส ระบบนี้ประกอบด้วยฮิปโปแคมปัส (hippocampus) และอะมิกดาบา (amygdala) ทำหน้าที่ควบคุมความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าวของมนุษย์และสัตว์

สมองส่วนกลาง (midbrain) เป็นส่วนที่มีความยาวประมาณ 1 นิ้ว ตั้งอยู่ใต้ทาลามัส โดยมีเซลล์ประสาทเป็นตัวเชื่อมต่อกัน


พอนส์ (pons) เป็นส่วนที่อยู่ถัดลงมาจากสมองส่วนกลาง ด้านขวาของพอนส์จะอยู่ติดกับสมองเล็ก (cerebellum) โดยมีใยประสาทเป็นตัวเชื่อม จึงทำให้พอนส์เป็นทางผ่านของกระแสประสาทที่มาจากส่วนล่างเข้าสู่สมองแท้และสมองเล็ก เพื่อให้เกิดการประสานงานกันระหว่างสมองทั้งสองชนิด เช่น สามารถเคลื่อนไหวได้พร้อมกับการทรงตัวที่ดี เป็นต้น

ก้านสมอง (medulla oblongata) เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากพอนส์ลงมา และเป็นส่วนสุดท้ายของสมอง โดยก้านสมองจะทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างสมองกับไขสันหลัง ภายในก้านสมองหรือ เมดูลลาประกอบด้วยเส้นประสาทเป็นมัด เพื่อส่งกระแสประสาทที่ได้รับจากสมองผ่านส่วนต่างๆ ลงมาตามลำดับเพื่อส่งเข้าสู่ไขสันหลังและรับกระแสประสาทที่ส่งขึ้นมาจากไขสันหลังส่งต่อไปสู่ส่วนต่างๆ ของสมองจามลำดับเช่นกัน เท่ากับว่าก้านสมองเป็นสถานีรับส่งกระแสประสาทสุดท้าย ที่เชื่อมต่อระหว่างสมองกับไขสันหลัง แต่เนื่องจากมัดของเส้นประสาทชุดที่อยู่ภายในก้านสมองนั้นมีลักษณะไขว้กันเป็นรูปกากบาท จึงทำให้เส้นประสาทชุดที่มาจากร่างกายซีกขวาจะไปเชื่อมต่อกับเส้นประสาทที่จะเข้าสู่สมองซีกซ้าย และเส้นประสาทชุดที่มาจากร่างกายซีกซ้ายจะไปเชื่อมต่อกับเส้นประสาทที่จะเข้าสู่สมองซีกขวา นอกจากนี้ก้านสมองยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในบางชนิดอีกด้วย เช่น การเต้นของหัวใจ การขยายและหดตัวของปอด การย่อยอาหาร การยืดและหดตัวของเส้นเลือด เป็นต้น

เรติคิวลาร์ ฟอร์เมชั่น (reticular formation) เป็นกลุ่มของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมอง ทำหน้าที่ควบคุมสภาวะตื่นตัวของร่างกาย การแสดงอาการงุนงง เป็นต้น

ไขสันหลัง (spinal cord) เป็นส่วนที่ต่อเนื่องมาจากสมองส่วนปลายมีจุดตั้งต้นมาจากบริเวณ base of skull ลงมาตาม กระดูกสันหลัง (vertebral column) มีความยาวประมาณ 42-45 ซม. มีเส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) จำนวน 31 คู่ออกจากไขสันหลัง แต่ละ spinal nerve ประกอบไปด้วย dorsal root และ ventral root ส่วนที่เป็น dorsal root จะประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจาก sensory neurons ส่วน ventral root ประกอบไปด้วย axon ของ motor neuron ซึ่งนำคำสั่งไปยังกล้ามเนื้อและต่อมต่างๆ (effector) เป็นส่วนของระบบประสาทที่ต่อออกมาจากเมดัลลาออบลองกาตา อยู่ภายในกระดูกสันหลัง ตั้งแต่กระดูกสันหลังข้อแรกจนถึงกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอวข้อที่ 2 และมีเยื่อหุ้มเช่นเดียวกับสมองไขสันหลังบริเวณอกและเอว ขยายกว้างกว่าส่วนอื่นๆ เมื่อเลยกระเบนเหน็บลงไปแล้วจะเรียวเล็กจนมีลักษณะเป็นเส้นไม่มีเยื่อหุ้ม ดังนั้นการฉีดยาเข้าที่บริเวณไขสันหลังและเจาะน้ำบริเวณไขสันหลังจึงทำกันต่ำกว่ากระดูกสันหลังเอวข้อที่สองลงมา เส้นประสาทที่แยกออกนากไขสันหลังมีทั้งหมด 31 คู่

หน้าที่ของไขสันหลัง
     -  เป็นศูนย์กลางของ spinal reflex
     -  ตำแหน่งแรกที่รับสัญญาณประสาทจากระบบรับความรู้สึกเพื่อที่จะนำส่งต่อไปยังสมอง
     -  เป็นตำแหน่งที่สิ้นสุดของสัญญาณประสาทที่มาจากระบบประสาท motor เนื่องจากมี anterior motor neurons ที่จะเป็นเซลล์ประสาทที่รับคำสั่งจาก corticospinal tract และสั่งการไปยังเซลล์กล้ามเนื้อ
     -  เป็นทางเดินของกระแสประสาทที่ติดต่อระหว่างไขสันหลังและสมอง
     -  เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทออโตโนมิก (autonomic nervous system)

4 ระบบหายใจ (Respiratory System)
            การหายใจ (respiration) เป็นการนำอากาศเข้าและออกจากร่างกาย ส่งผลให้แก๊สออกซิเจนทำปฏิกิริยากับสารอาหารได้พลังงาน น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ กระบวนการหายใจเกิดขึ้นกับทุกเซลล์ตลอดเวลา การหายใจจำเป็นต้องอาศัย
            มนุษย์ทุกคนต้องหายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ การหายใจเข้า อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้
จมูก (nose) จมูกส่วนนอกเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนอกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย
หลอดคอ (pharynx) เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดลม ซึ่งเป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณ 5 นิ้ว หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากหัน โครงของหลอดคอประกอบด้วยกระดุกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นที่ใหญ่ที่สุด คือ กระดูกธัยรอยด์ ที่เราเรียกว่า “ลูกกระเดือก” ในผู้ชายเห็นได้ชัดกว่าผู้หญิง
หลอดเสียง (larynx) เป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 ซม.ในผู้ชาย และ3.5 ซม.ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง ซึ่งอยู่ภายในหอลดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชาย
หลอดลม (trachea) เป็นส่วนที่ต่อมาจากจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก ลักษณะรูปร่างของหลอดลมเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น วางอยู่ทางด้านหลังของหลอดลม ช่องว่าง ระหว่างกระดูกอ่อนรูปตัว U ที่วางเรียงต่อกันมีเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเรียบมายึดติดกัน การที่หลอดลมมีกระดูกอ่อนจึงทำให้เปิดอยู่ตลอดเวลา ไม่มีโอกาสที่จะแฟบเข้าหากันได้โดยแรงดันจากภายนอก จึงรับประกันได้ว่าอากาศเข้าได้ตลอดเวลา หลอดลมส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลังช่วงอกแตกแขนงออกเป็นหลอดลมแขนงใหญ่ (bronchi) ข้างซ้ายและขวา เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กในปอดหรือที่เรียกว่า หลอดลมฝอย (bronchiole) และไปสุดที่ถุงลม (alveolus) ซึ่งเป็นการที่อากาศอยู่ใกล้กับเลือดในปอดมากที่สุด จึงเป็นบริเวณแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์
ปอด (lung) ปอดมีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆ ของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆ นี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลัง ฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกะบังลม
เยื่อหุ้มปอด (pleura) เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็นมันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่าเยื่อหุ้มปอด ซึ่งมี 2 ชั้นระหว่าง 2 ชั้นมีของเหลวอยู่นิดหน่อย เพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด

โครงสร้าง 2 ชนิดคือ กล้ามเนื้อกะบังลม และกระดูกซี่โครง ซึ่งมีกลไกการทำงานของระบบหายใจ ดังนี้
ภาพที่ 3.27 ตำแหน่งที่ตั้งของระบบหายใจ
แหล่งที่มารูปภาพ http://www.thaigoodview.com/node/12864

กลไกการทำงานของระบบหายใจ
            1.การหายใจเข้า (Inspiration) กะบังลมจะเลื่อนต่ำลงอกระดูกซี่โคลงจะเลื่อนสูงขึ้น
ทำให้ปริมาตรของช่องอกเพิ่มขึ้น ความดันอากาศในบริเวณรอบๆ ปอดลดต่ำลงกว่าออากาศภายนอกอากาศภายนอกจึงเคลื่อนเข้าสู่จมูก หลอดลม และไปยังถุงลมปอด
            2.การหายใจออก (Expiration) กะบังลมจะเลื่อนสูง กระดูกซี่โคลงจะเลื่อนต่ำลง

ทำให้ปริมาตรของช่องอกลดน้อยลง ความดันอากาศในบริเวณรอบๆ ปอดสูงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายในถุงลมปอดจึงเคลื่อนที่จากถุงลมปอด ไปสู่หลอดลมและออกทางจมูก
ภาพที่ 3.28 ระบบหายใจ
แหล่งที่มารูปภาพ http://www.med.cmu.ac.th/

สิ่งที่กำหนดอัตราการหายใจเข้าและออก คือ ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด
-       ถ้าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดต่ำจะทำให้การหายใจช้าลงเช่น
การนอนหลับ
-       ถ้าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงจะทำให้กายหายใจเร็วขึ้น
เช่น  การออกกำลังกาย

5 ระบบวงจรการไหลเวียนเลือด (Circulatory System.)
            วงจรการไหลเวียนเลือด เริ่มจากหัวใจห้องบนซ้ายรับเลือดที่มีปปริมาณออกซิเจนสูงจากปอดแล้วบีบตัวดันผ่านลิ้นหัวใจลงสู่หัวใจห้องล่างซ้ายแล้วบีบตัวไปยังส่วนต่างๆของร่างกายและเปลี่ยนเป็นเลือดที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูงหรือเลือดดำไหลผ่านหลอดเลือดดำหัวใจห้องบนขวาแล้วดันผ่านลิ้นหัวใจลงสู่ห้องล่างขวา แล้วกลับเข้าสู่ปอดเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นแก๊สออกซิเจน เป็นวัฎจักรการหมุนเวืยนเลือดในร่างกายเช่นนี้ตลอดไปเป็นระบบปิด (Closed System)

การไหลเวียนเลือดไปทั่วร่างกาย
ภาพที่ 3.29 การไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย
แหล่งที่มารูปภาพ http://www.med.cmu.ac.th


ภาพที่ 3.30 แสดงระบบการไหลเวียนเลือด
แหล่งที่มารูปภาพ  http://www.med.cmu.ac.th


            การไหลเวียนเลือดเกิดขึ้นได้จากแรงที่หัวใจบีบตัวส่งเลือด ตามหลอดเลือดไปยังปอด เพื่อการแลกเปลี่ยนออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วกลับมาเข้าหัวใจเพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย สุดท้ายจะไหลเวียนมาเข้าหัวใจอีก เช่นนี้ไปเรื่อยๆ

            หน้าที่ของระบบไหลเวียนเลือด อาจแบ่งได้เป็นข้อๆดังนี้ คือ
1.   ให้อาหาร นำอาหารและสารอื่นๆ ไปเลี้ยงเซลล์ ของร่างกาย
2.  หายใจ นำคาร์บอนไดออกไซด์ไปขับออกทางปอด เพื่อแลกเปลี่ยนออกซิเจนกลับมาใช้
3. ขับถ่าย นำของเสียซึ่งเกิดจากเมแทบอลิซึม เพื่อขับออกภายนอกร่างกาย
4. การคงปริมานสารน้ำของร่างกาย ช่วยควบคุมและ รักษาดุลของน้ำภายใน
ร่างกาย
5. การควบคุมอุณหภูมิ รักษาอุณหภูมิของร่างกาย ให้เป็นปกติ
6. ปรับระดับและป้องกัน เลือดที่ไหลเวียนช่วยนำสาร บางอย่าง ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายไปยังอวัยวะ ต่างๆ และนำสารบางอย่างที่เป็นตัวช่วยป้องกันร่างกายไปยังที่ได้รับอันตรายด้วยอาจเปรียบเทียบได้ว่าระบบการไหลเวียนเลือดมีการทำงาน เป็นระบบขนส่งซึ่งทำหน้าที่ขนส่งของดีไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย ขณะเดียวกันก็นำของเสียไปยังอวัยวะที่มีหน้าที่กำจัดทิ้ง

เลือด (Blood) คือ ส่วนประกอบของเลือดคน เลือดเป็นของเหลวในร่างกายภายนอกเซลล์ ในร่างกายของคนจะพบของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์ประมาณ 63 เปอร์เซ็นต์ ของเหลวภายนอกเซลล์ 37 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแบ่งตามตำแหน่งที่อยู่คือ (1) น้ำเลือด ซึ่งจะพบภายในเส้นเลือด ประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ (2) ของเหลวระหว่างเซลล์ ได้แก่น้ำเหลือง ประมาณ  เปอร์เซ็นต์ และ  ของเหลวเฉพาะที่

ภาพที่ 3.31 ระบบเลือดในร่างกายมนุษย์
แหล่งที่มารูปภาพ  http://www.med.cmu.ac.th

เลือดมีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ
1.  การลำเลียงเลือด สามารถลำเลียงสารไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เม็ดเลือดเป็น
ตัวขนส่งก๊าซ น้ำเลือดประกอบด้วยสารอาหารพวกน้ำตาล ไขมัน วิตามิน กรดอะมิโนและสารอื่นๆ และเลือดยังเป็นตัวขนส่งของเสียที่ได้จากเมาตาโบลิซึมหลายอย่างไปยังอวัยวะขับถ่ายและขนส่งสารที่ควบคุมการทำงานของกระบวนการต่างๆ
2.  การปรับสภาวะสมดุลของร่างกาย
    2.1 การปรับส่วนประกอบ ของของเหลวภายในเนื้อเยื่อ ของเหลวระหว่าง
เซลล์และของเหลว
                    2.ในน้ำเลือดมีเกลือและโปรตีนหลายชนิด
                    2.การปรับอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่โดยมีน้ำเลือดเป็นตัวรับความร้อนที่เกิดจากกระบวนการเมตาโบลิซึม เพื่อส่งไปยังผิวหนังและปอดให้ระบายความร้อนออกจากร่างกาย
                    2.4 การป้องกัน เมื่อเส้นเลือดถูกทำลายจะมีการเสียเลือด และจะเกิดกระบวนการการแข็งตัวเพื่อปิดเส้นเลือด

ส่วนประกอบที่สำคัญของเลือด
1. น้ำเลือดหรือพลาสมา (Plasma)
น้ำเลือดเป็นของเหลวค่อนข้างใส มีสีเหลืองอ่อน ประกอบด้วย
    1.1   น้ำปริมาณร้อยละ 90-93 มีหน้าที่ละลายสารแขวนลอยและละลายสาร
ต่างๆ ทำให้เกิดการมีประจุและนำความร้อน
    1.2   โปรตีนประมาณร้อยละ  7-10 ทำให้เลือดมีความหนืดและความดัน
ออสโมซิสช่วยปรับปริมาตรของเลือด รักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย ช่วยให้เลือดแข็งตัว
เมื่อเป็นบาดแผลและพวกอนติบอดี โปรตีนที่สำคัญคือ ไฟบริโนเจน อัลบูมิน และ โกลบู
ลิน
                     1.3   ก๊าซที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ ที่สำคัญ คือ ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนประกอบของน้ำเลือดมาจากแหล่งต่างๆ เช่น น้ำและสารที่มีประจุได้มาจากการดูดซึมจากทางเดินอาหาร อัลบูมินสร้างมาจากตับ แลของเสียจะได้มาจากกระบวนการเมตาโบลิซึมของทุกเซลล์ที่มีชีวิต
1.4   กลูโคส มีประมาณ 60-100 มิลลิกรัมใน 100 มิลลิลิตรของเลือด ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานให้แก่เนื้อเยื้อต่างๆของร่างกาย
1.5   เอนไซม์ มีหน้าที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมีต่างๆ
               ถ้านำน้ำเลือดไปปั่นเพื่อให้เซลล์เม็ดเลือด เพลตเลต และโปรตีนแยกออกจากน้ำเลือดส่วนที่เหลือจะเป็นน้ำใสๆเรียกว่า ซีรัม น้ำเลือดทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่ย่อยแล้ว เกลือแร่ ฮอร์โมน แอนติบอดี ไปให้เซลล์ที่ส่วนต่างๆของร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยรักษาความเป็นกรด-เบส สมดุลของน้ำและรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย

2.      เม็ดเลือดแดง (red blood cell)
มีหน้าที่สำคัญ คือ ขนส่งก๊าซออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์ไปยังปอดถ้านำเลือดของคนเรามาส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะเห็นเซลล์เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างกลมแบนตรงกลางบุ๋มไม่มีนิวเคลียส  มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-8 ไมโครตเมตร เม็ดเลือดแดงมีรงควัตถุสีแดงเรียกว่า ฮีโมโกลบินซึ่งเป็นโปรตีนที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ ฮีโมโกลบินรวมตัวกับก๊าซต่างๆได้ดีมาก ถ้าไม่มีฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแล้วจะพบว่าใน 100 มิลลิลิตรของเลือดจะขนส่งออกซิเจนได้เพียง 1 มิลลิลิตร แต่ถ้ามีฮีโมโกลบินอยู่จะพบว่าใน 100 มิลลิลิตรของเลือดจะขนส่งออกซิเจนได้ถึง 20 มิลลิลิตร ถ้าหากฮีโมโกลบินในน้ำเลือดสูงมากกว่าในเซลล์ จะมีผลเพิ่มความเข้มข้นของน้ำเลือดทำให้กระทบกระเทือนต่อสมดุลออสโมซิส ทั้งยังทำให้เลือดมีลักษณะเป็นของเหลวหนืดๆมากจนไม่สามารถสูบฉีดออกจากหัวใจได้ ในคนนั้นเม็ดเลือดแดงแต่ละเม็ดจะมีฮีโมโกลบินประกอบอยู่ด้วยถึง 280 ล้านโมเลกุล ฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดงในคนปกติจะปล่อยออกซิเจนไปให้เซลล์ใช้ได้เพียงประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น นอกเสียจากขณะออกกำลังกายหรือทำงานหนักอาจปล่อยออกไปได้มากที่สุดถึง 72 เปอร์เซ็นต์ การที่เป็นอันตรายต่อการที่ก๊าซฮีโมโกลบินนำออกซิเจนไปให้เซลล์ใช้มากให้ภาวะการณปัจจุบันนี้เห็นจะได้แก่คาร์บอนมอนออกไซด์ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของไอเสียรถยนต์ ที่เป็นเช่นนี้เพราะก๊าซนี้จะเข้าไปแย่งออกซิเจนจากการรวมตัวกับฮีโมโกลบินและยังเข้าไปรวมตัวอย่างถาวรโดยไม่ยอมปล่อยออกมาง่ายๆ เหมือนออกซิเจน ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ อาการที่จะปรากฏให้เห็นคือ หูอื้อ ตามัว หมดความรู้สึกและตายในที่สุด
การสร้างเม็ดเลือดแดง ในระยะเอ็มบริโอ้เซลล์เม็ดเลือดแดงสร้างจากตับ ม้าม ไขกระดูก เซลล์เม็ดเลือดแดงที่สร้างขึ้นใหม่ๆเป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียสซึ่งเรียกว่า อีริโทรบลาสต์ ซึ่งสามารถสังเคราะห์ฮีโมโกลบินได้ เมื่อปริมาณของฮีโมโกลบินเพียงพอเซลล์เม็ดเลือดแดงก็ถูกปล่อยออกมาจากไขกระดูกเข้ามายังกระแสเลือด แต่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียสและไมโทคอนเดรีย
การทำลายเม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดแดงจะมีอายุประมาณ 90-120 วัน หลังจากนั้นจะถูกทำลายที่ม้าม แต่จำนวนของเม็ดเลือดแดงต่อลูกบาศก์มิลลิเมตรของเลือดไม่เปลี่ยนแปลงเพราะอัตราการผลิตเท่ากับอัตราของการทำลาย คือ ประมาณ 5-10 ล้านเซลล์ต่อวินาที ฉะนั้นตลอดอายุของคนเราจะมีการสร้างเม็ดเลือดแดงทดแทนอยู่เสมอ โดยส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง เช่น เหล็กจะไม่ถูกกำจัดออกนอกร่างกายแต่จะนำมาสร้างเม็ดเลือดใหม่ได้อีก ผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง และมะเร็งของเม็ดเลือดขาว อัตรากรสร้างเม็ดเลือดแดงจะเกิดขึ้นน้อยและไม่สมดุลกับอัตราที่ถูกทำลาย

3.      เม็ดเลือดขาว (white blood cell)
เม็ดเลือดขาวของคนมีประมาณ 6,000-9,000 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลิลิตรของเลือด ในเด็กแรกเกิดจะมีเม็ดเลือดขาวมากที่สุดซึ่งจะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ตามหน้าที่ของเซลล์เม็ดเลือดขาว
1.      ฟาโกไซต์ เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวพวกที่ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมโดยวิธีฟาโกไซโทซิส พวกนี้จะเจริญพัฒนาที่ไขกระดูก
2.      ลิมโฟไซต์ เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวพวกทีทำหน้าที่สร้างสารขึ้นมาต่อต้านสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรค สารที่ถูกสร้างขึ้นเรียกว่า แอนติบอดี ซึ่งเป็นสารประเภทโปรตีน

เซลล์เม็ดเลือดขาวยังมีสมบัติเฉพาะ คือ สามารถเคลือนที่ได้แบบอะมีบา แม้เม็ดเลือดขาวส่วนมากจะมีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง ก็ยังสามารถเคลื่อนที่ผ่านผนังของเส้นเลือดฝอยเข้าสู่น้ำเหลืองไปตามเนื้อเยื้อต่างๆได้ นอกจากนี้ยังสามารถเคลื่อนที่เข้าหาหรือเคลื่อนที่หนีสารเคมีหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารที่เกิดในตอนที่มีบาดแผลหรือเกิดการบวมอักเสบ เซลล์เม็ดเลือดขาวส่วนมากมีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 ไมโครเมตร เซลล์เม็ดเลือดขาวมีนิวเคลียสขนาดใหญ่ มีจำนวนน้อยกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงมาก เลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตรมีเซลล์เม็ดเลือดขาวประมาณ 5,000-10,000 เซลล์ และจะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ เมื่อมีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
การสร้างเม็ดเลือดขาว การสร้างเม็ดเลือดขาวสร้างขึ้นจากเซลล์ไขกระดูกเช่นเดียวกับเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาวบางส่วนจะพัฒนาที่ไขกระดูก แต่บางส่วนจะไปเจริญพัฒนาในเนื้อเยื้อน้ำเหลือง และต่อมน้ำเหลืองในกรณีที่มีการอักเสบ จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวจะเพิ่มขึ้นมากการอักเสบที่เกิดจากไวรัสหลายชนิด ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวจะลดลงกว่าปกติ เหตุนี้เองในการตรวจร่างกายผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อหรือโรคอื่นๆ แทบจะตรวจหาปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวร่วมไปกับการตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดแดงสำหรับการวินิจฉัยโรคหากมีการผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดงของไขกระดูกไม่ทำงานจะทำให้เซลล์เม็ดเลือดเกิดการบกพร่องหรือผิดปกติ ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับเลือด ได้หลายโรค เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลิวคีเมีย
เพลตเลตมีชื่อเรียกต่างกันไป เช่น “เกล็ดเลือด” “เศษเม็ดเลือด” หรือ “แผ่นเลือด” เพลตเลตเป็นชิ้นส่วนของไซโทพลาซึ่มของเซลล์ชนิดหนึ่งในไขกระดูก ขาดเป็นชิ้นๆแล้วจึงเข้าสู่เส้นเลือดมีขนาดเล็กมาก รูปร่างไม่แน่นอน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 ไมโครเมตร มีอายุประมาณ 10 วัน


หลอดเลือด (Blood Vessel) หลอดเลือดทำหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจไปยังอวัยวะส่วนต่างๆทั่วร่างกาย และเป็นเส้นทางให้เลือดจากอวัยวะต่างๆทั่วร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ

ภาพที่ 3.32 ชนิดของหลอดเลือด
แหล่งที่มารูปภาพ  http://www.med.cmu.ac.th


หลอดเลือดมีอยู่ทุกส่วนของร่างกายมีหน้าที่นำสารอาหารและก๊าซออกซิเจนที่ลำเลียงไปกับเลือด เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เมื่อไปถึงเซลล์จะมีการแลกเปลี่ยนอาหารและก๊าซต่างๆถ้านำหลอดเลือดในร่างกายมาต่อกันจะมีความยาวประมาณ 100,000 ไมล์

หลอดเลือดในร่างกาย แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1. หลอดเลือดแดง (Artery) หมายถึงหลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ ซึ่งจะเป็น
เลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูงเป็นเลือดที่มีสีแดงสด ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ( ยกเว้นหลอดเลือดที่ไปสู่ปอดชื่อ pulmonary artery ซึ่งจะนำเลือดดำจากหัวใจที่มีคาร์บอนไดออกไซด์สูงไปฟอกที่ปอด )
2. หลอดเลือดดำ ( Vein ) หมายถึงหลอดเลือดที่นำเลือดที่มีของเสีย และ
คาร์บอนไดออกไซด์ ( เลือดดำ ) ที่ร่างกายใช้แล้วจากส่วนต่างๆของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนขวา (Right atrium) เพื่อนำกลับไปฟอกที่ปอด (ยกเว้นหลอดเลือดดำปอดที่ชื่อ pulmonary artery ซึ่งจะนำเลือดแดงที่ผ่านการฟอกจากปอดแล้วนำกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย) ภายในหลอดเลือดดำจะมีความดันต่ำ ถ้าหลอดเลือดดำฉีกขาด เลือดที่ไหลออกมาจะไหลรินๆคงที่และสม่ำเสมอ ห้ามเลือดหยุดได้ง่ายกว่าหลอดเลือดแดงฉีกขาด
3. หลอดเลือดฝอย ( Capillary ) หมายถึงหลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือด
แดงขนาดเล็ก ( arteriole ) ไปยังหลอดเลือดดำขนาดเล็ก ( venule ) โดยจะแทรกอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย เช่น ผิวหนัง กล้ามเนื้อ สมอง และอวัยวะอื่นๆ ยกเว้นเส้นผม และเล็บจะไม่มีหลอดเลือดฝอย

น้ำเหลือง (lymphatic system) สารต่างๆในเซลล์จะถูกลำเลียงกลับเข้าสู่หลอดเลือดด้วยน้ำเหลืองโดยสัมพันธ์กับการไหลของเลือดในหลอดเลือดฝอยระบบน้ำเหลืองมีส่วนประกอบดังนี้
1. อวัยวะน้ำเหลืองเป็นศูนย์กลางผลิตเซลล์ต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ได้แก่
ต่อมน้ำเหลือง ต่อมทอนซิล และต่อมไทมัสมีหน้าที่ผลิตสารต่อต้านเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
2. ท่อน้ำเหลือง (lymph vessel) มีหน้าที่นำน้ำเหลืองเข้าสู่หลอดเลือดดำใน
ระบบหมุนเวียนของเลือด
3. น้ำเหลือง (lymph)  มีลักษณะเป็นของเหลวใสอาบอยู่รอบๆเซลล์
สามารถซึมผ่านเข้าออกผนังหลอดเลือดฝอยได้มีหน้าที่เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสารระหว่างหลอดเลือดฝอยกับเซลล์ได้

น้ำเหลืองเป็นระบบลำเลียงสารต่างๆ ให้กลับเข้าสู่เส้นเลือด โดยเฉพาะสารอาหารพวกกรดไขมันที่ดูดซึมจากลำไส้เล็ก ระบบน้ำเหลืองจะไม่มีอวัยวะสูบฉีดไปยังส่วนต่างๆ ประกอบไปด้วย น้ำเหลือง ( Lymph ) ท่อน้ำเหลือง ( Lymph vessel ) และอวัยวะน้ำเหลือง ( Lymphatic organ )

1.    น้ำเหลือง ( Lymph )  ส่วนประกอบของน้ำเหลืองคล้ายกับในเลือดแต่ไม่
มีเม็ดเลือดแดง เป็นของเหลวที่ซึมผ่านผนังเส้นเลือดฝอยออกมาอยู่ระหว่างเซลล์หรือรอบๆ เซลล์ เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ ในน้ำเหลืองจะมีโปรตีนโมเลกุลเล็ก เช่น อัลบูมิน และสารที่มีโมเลกุลเล็กๆ เช่น ก๊าซ น้ำ น้ำตาลกลูโคส


2.    ท่อน้ำเหลือง ( Lymph vessel ) เป็นท่อตันมีอยู่ทั่วร่างกายมีขนาด
ต่างๆกัน มีลักษณะคล้ายเส้นเลือดเวน คือมีลิ้นกั้นป้องกันการไหลกลับของน้ำเหลือง น้ำเหลืองไหลไปตามท่อน้ำเหลือง โดยอาศัยปัจจัย 3 ประการ คือ
-การหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อที่จะไปกดหรือคลายท่อน้ำเหลือง
-ความแตกต่างระหว่างความดันไฮโดรสเตติก ซึ่งท่อน้ำเหลืองขนาดเล็กมีมากกว่าท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ่
-การหายใจเข้า ซึ่งไปมีผลขยายทรวงอกและลดความดันทำให้ท่อน้ำเหลืองขยายตัว
                           ท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ่มี 2 ท่อที่สำคัญ คือ
   2.1  ท่อน้ำเหลืองทอราซิก (Thoracic duct) เป็นท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ่
ที่สุด ทำหน้าที่รับน้ำเหลืองจากส่วนต่างๆของร่างกาย ยกเว้นทรวงอกขวาแขนขวาและส่วนขวาของหัวกับคอ เข้าเส้นเลือดเวน และเข้าสู่เวียนาคาวาก่อนเข้าสู่หัวใจ อยู่ทางซ้ายของลำตัว
   2.2  ท่อน้ำเหลืองทางด้านขวาของลำตัว (Right lymphatic duct) รับ
น้ำเหลืองจากทรวงอกขวาแขนขวา และส่วนขวาของหัวกับคอของเส้นเลือดเวน แล้วเข้าสู่เวียนาคาวา เข้าสู่หัวใจจากนั้นน้ำเหลืองที่อยู่ในท่อน้ำเหลือง จะเข้าหัวใจปนกับเลือดเพื่อลำเลียงสารต่างๆต่อไป

3. วัยวะน้ำเหลือง ( Lymphatic organ ) อวัยวะน้ำเหลืองเป็นศูนย์กลางใน
การผลิตเซลล์ที่ใช้ในการต่อต้านเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมประกอบด้วย ต่อมน้ำเหลือง ต่อมทอนซิล ม้าม ต่อมไทมัส และเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่อยู่ที่ลำไส้
-ต่อมน้ำเหลือง ( Lymph node ) พบอยู่ระหว่างทางเดินของท่อ
น้ำเหลืองทั่วไปในร่างกาย ลักษณะเป็นรูปไข่ กลมหรือรี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 มิลลิเมตร จะมีท่อน้ำเหลืองเข้าและท่อน้ำเหลืองออก ภายในเต็มไปด้วยเม็ดเลือดขาวชนิดโฟไซต์ ต่อมน้ำเหลืองจะทำหน้าที่กรองน้ำเหลืองให้สะอาด ทำลายแบคทีเรีย และทำลายเม็ดเลือดขาวที่อยู่ในวัยชรา
-ต่อมทอนซิล ( Thonsil gland ) เป็นกลุ่มของต่อมน้ำเหลืองมีอยู่ 3 คู่
คู่ที่สำคัญอยู่รอบๆหลอดอาหาร ภายในต่อมทอนซิลจะมีลิมโฟไซต์ทำลายจุนลินทรีย์ที่ผ่านมาในอากาศไม่ให้เข้าสู่หลอดอาหารและกล่องเสียง ถ้าต่อมทอนซิลติดเชื้อจะมีอาการบวมขึ้น เรียกว่า ต่อมทอนซิลอักเสบ
-ม้าม ( spleen ) เป็นอวัยวะน้ำเหลืองที่ใหญ่ที่สุด มีเส้นเลือดมาเลี้ยง
มากมาย ไม่มีท่อน้ำเหลืองเลยสามารถยืดหดได้ นุ่มมีสีม่วง อยู่ใกล้ๆกับกระเพาะอาหารใต้กระบังลมด้านซ้ายรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ภายในจะมีลิมโฟไซต์อยู่มากมาย ม้ามมีหน้าที่สร้างเม็ดเลือดในระยะเอ็มบริโอในคนที่คลอดแล้วม้ามทำหน้าที่
          1. ทำลายเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้ว
          2. สร้างเม็ดเลือดขาว พวกลิมโฟไซต์ และโมโนไซต์ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคที่เข้าไปในกระแสเลือด
          3. สร้างแอนติบอดี
          4. ในสภาพผิดปกติ สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงได้ เช่น มะเร็งเม็ดเลือด
                     -ต่อมไทมัส ( Thymus gland ) เป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ตอนอายุน้อยและถ้าอายุมากจะเล็กลงและฝ่อในที่สุด เป็นต่อมไร้ท่ออยู่ตรงทรวงอกรอบเส้นเลือดใหญ่ของหัวใจ ทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด ลิมโฟไซต์ T มีหน้าที่ต่อต้านเชื้อโรคและสารแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายรวมทั้งการต้านอวัยวะที่ปลูกถ่ายจากผู้อื่นด้วย

               สารต่างๆในเซลล์จะถูกลำเลียงกลับเข้าสู่หลอดเลือดด้วยระบบน้ำเหลืองโดยสัมพันธ์กับการไหลของเลือดในหลอดเลือดฝอยระบบน้ำเหลืองมีส่วนประกอบ ดังนี้
1. อวัยวะน้ำเหลืองเป็นศูนย์กลางผลิตเซลล์ต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ได้แก่ ต่อม
น้ำเหลือง ต่อมทอนซิล ม้าม และต่อมไทมัสมีหน้าที่ผลิตสารต่อต้านเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
2. ท่อน้ำเหลือง ( lymph vessel )มีหน้าที่นำน้ำเหลืองเข้าสู่หลอดเลือดดำในระบบ
หมุนเวียนของเลือด
3. น้ำเหลือง ( lymph ) มีลักษณะเป็นของเหลวใสอาบอยู่รอบๆเซลล์ สามารถซึม
ผ่านเข้าออกผนังหลอดเลือดฝอยได้มีหน้าที่เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสารระหว่างหลอดเลือดฝอยกับเซลล์ได้

หัวใจ (Heart)
        หัวใจคนมี 4 ห้อง คือ
1. หัวใจห้องบนขวา มีขนาดเล็ก ผนังกล้ามเนื้อบาง มีหน้าที่รับเลือดที่ใช้
แล้วจากส่วนต่างๆของร่างกาย (C02) ที่ลำเลียงมากับเส้นเลือดซูพีเรียเวนาคาวา (superior vena cava) ซึ่งรับเลือดที่ใช้แล้วจากศรีษะและแขน กับเส้นเลือดอินฟีเรียเวนาคาวา (inferior vena cava) ซึ่งรับเลอดที่ใช้แล้วจากอวัยวะภายในและขา
2. หัวใจห้องล่างขวา จะอยู่ทางด้านหน้าสุดของหัวใจ และพื้นผิวทางด้าน
หลังของหัวใจห้องนี้จะติดกับกะบังลมหัวใจห้องล่างขวาทำหน้าที่รับเลือดจากหัวใจห้องบนขวา แล้วส่งออกไปยังปอด ผ่านลิ้นหัวใจพัลโมนารี่เซมิลูนาร์ (pulmonary semilunar valve) และหลอดเลือดแดงพัลโมนารี (pulmonary arteries) ที่ผนังของหัวใจห้องที่จะมีแนวของกล้ามเนื้อหัวใจที่สานต่อกัน และมีเอ็นเล็กๆที่ควบคุมลิ้นหัวใจไตรคัสปิด ซึ่งเรียกว่า คอร์ดี เทนดินี่ (chordae tendinae) ซึ่งทำหน้าที่ยึดลิ้นหัวใจ ไตรคัสปิด ไม่ให้ตลบขึ้นไปทางหัวใจห้องบนขวาระหว่างการบีบตัวของหัวใจห้องล่างดังนันจึงป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ
3. หัวใจห้องบนซ้าย  มีขนาดเล็กที่สุดในห้องหัวใจทั้งสี่ห้องและวางตัวอยู่
ทางด้านหลังสุด ผนังกล้ามเนื้อบางมีหน้าที่รับเลือดที่ฟอกแล้ว (oxygenated blood) จากปอดผ่านทางหลอดเลือดดำ พัลโมนารี (pulmonary veinx) และจึงส่งผ่านให้หัวใจห้องล่างซ้ายทางลิ้นไมตรัล (Mitral valve)
4. หัวใจห้องล่างซ้าย มีผนังกล้ามเนื้อหนาที่สุดและหนาประมาณ 3 เท่าของ
ทางด้านขวาเพราะทำหน้าที่รับเลือดจากเอเตียมซ้ายแล้วสูบฉีดเลือดอย่างแรงไปเล้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ทำหน้าที่หลักในการสูบฉีดเลือดไปยังทั่วทั้งร่างกายผ่านทางลิ้นหัวใจเอออร์ติกเซมิลูนาร์ (Aorticsemilunar valve) และหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (Aorta)

ภาพที่ 3.33 โครงสร้างของหัวใจมนุษย์
แหล่งที่มารูปภาพ  http://geocities.ws.com


            โครงสร้างของหัวใจ
-        หัวใจของคนที่โตเต็มวัยจะมีขนาดเท่ากับกำปั้นของตนเอง
-        กว้างประมาณ 9 ซม. ยาว 12.5 ซม. และหนา 5 ซม.
-        มีน้ำหนักประมาณ 300 กรัม
-        มีตำแหน่งอยู่ภายในช่องอกระหว่างปอดทั้ง 2 ข้าง ค่อนไปทางซ้ายเล็กน้อย
-        หัวใจอยู่ภายในเยื้อหุ้มหัวใจที่เรียกว่า เยื้อหุ้มเพอริคาร์เรียม (pericarium)

เส้นเลือดที่หัวใจ
1.)  Aorta (เอออร์ตา) คือ เส้นเลือดแดงใหญ่ ที่ทำหน้าที่นำเลือดแดงออก
จากหัวใจห้องล่างซ้ายไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย (มี 1 เส้น)
2.)  Pulmonary artery (พัลโมนารี อาร์เตอรี่) คือ เส้นเลือดแดงที่นำเลือด
ดำออกจากหัวใจไปฟอกที่ปอด (lung) ซ้ายและขวา (มี 2 เส้น)
3.)  Pulmonary vein (พัลโมนารี เวน) คือ เส้นเลือดดำที่นำเลือดแดงที่ฟอก
แล้วจากปอดนำกลับเข้าหัวใจทางห้องบนซ้าย (มี 2 เส้น)
4.)  Superior vena cava (ซูปีเรีย เวนาคาวา) คือ เส้นเลือดดำที่นำเลือดดำ
จากส่วนบน (ศีรษะ แขน และลำตัวด้านบน) มาเข้าหัวใจหห้องบนขวา (มี 1 เส้น)
5.)  Inferior vena cava (อินฟีเรีย เวนาคาวา) คือ เส้นเลือดดำที่นำเลือดดำ
(เลือดดำที่มี o2ต่ำ) จากขาและลำตัวด้านล่างมาเข้าหัวใจห้องบนขวา (มี 1 เส้น)

 ภาพที่ 3.34 โครงสร้างภายนอกของหัวใจ
แหล่งที่มารูปภาพ  www.slideshare.net


วงจรการทำงานของหัวใจระยะเวลาตั้งแต่เริ่มการเต้นของหัวใจ จนกระทั่งถึงการเต้นของหัวใจครั้งต่อไป เรียกว่า 1 วงจร ซึ่งประกอบด้วย กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว (systole) เพื่อไล่เลือดเข้าสู่หัวใจห้องล่างหรือไล่เลือดออกไปสู่เส้นเลือด หลังจากนั้นกล้ามเนื้อจะคลายตัว (diastole) เพื่อให้เลือดเข้ามาสู่หัวใจห้องที่ว่าง แล้วเริ่มวงจรใหม่ต่อไป



สรุปท้ายบท

               กายวิภาคและสรีรการออกกำลังกายขั้นพื้นฐานเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของร่างกายมนุษย์และสรีรวิทยาที่ศึกษาถึงหน้าที่การทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายมนุษย์ ระบบโครงกระดูก จะประกอบไปด้วยกระดูกอ่อน กระดูกแข็ง ข้อต่อ รวมทั้งสิ่งที่มาเกี่ยวพันกันเช่น เอ็น กระดูกในร่างกายมนุษย์มี 206 ชิ้น กระดูกของเด็กแรกเกิดจะมี 300 ชิ้น โครงสร้างของเซลล์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือโพรโทพลาสซึม และเยื้อหุ้มเซลล์ กล้ามเนื้อมีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนไหว ของการหายใจ การเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารตลอดจนการเคลื่อนไหวของหลอดเลือดและหลอดน้ำเหลือง โดยน้ำหนักตัว มีคุณสมบัติพิเศษ ร่างกายแบ่งกล้ามเนื้อออกเป็น 3 ชนิด คือ กล้ามเนื้อยึดกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อที่มีบทบาทต่อการคลื่อนไหวและเราบังคับได้ ก็คือ กล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อจะทำงานเพื่อที่จะสร้างพลังงานได้ 2 วิธี คือไม่ใช้ออกซิเจนและวิธีใช้ออกซิเจนระบบประสาท มีหน้าที่ในการ ออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่างๆ (action) ให้อวยวะต่างๆทำงาน ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบหายใจ มนุษย์ทุกคนต้องหายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ การหายใจเข้า อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้ จมูก หลอดคอ หลอดเสียง หลอดลมปอด เยื้อหุ้มปอด ระบบไหลเวียนเลือด การไหลเวียนเลือดเกิดขึ้นได้จากแรงที่หัวใจบีบตัวส่งเลือด ตามหลอดเลือดไปยังปอด เพื่อการแลกเปลี่ยนออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วกลับมาเข้าหัวใจเพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย สุดท้ายจะไหลเวียนมาเข้าหัวใจอีก เช่นนี้เรื่อยไป หัวใจจะทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย โดยจะรับเลือดที่มีออกซิเจนสูงจากปอดเข้าทางหัวใจห้องบน ซ้ายผ่านต่อมายังหัวใจห้องล่างซ้าย เพื่อส่งออกไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกายและจะรับเลือดที่มีออกซิเจนน้องจากส่วนต่างๆของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจทางหัวใจบนขวา และผ่านไปยังหัวใจห้องล่างขวาเพื่อส่งไปยังปอด เลือดที่มีออกซิเจนต่ำจะไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจนและกลับเข้าสู่หัวใจอีกครั้งหมุนเวียนตลอดเวลาอย่างเป็นระบบ


เอกสารอ้างอิง


ฉัตรชัย ประภัศร. วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์, 2557.

ชาญชัย ชอบธรรมสกุล. กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา. กรุงทพมหานคร : สำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2553.

เชาว์ ชิโนรักษ์. ชีววิทยาเล่ม 1 . กรุงเทพมหานคร : โสภณการพิมพ์, 2552.           

บังอร ฉางทรัพย์. กายวิภาคศาสตร์ 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงทพมหานคร : แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2550.

ประพิณพันธ์ ศรีสวรรค์. มหากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์. กรุงทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2549.

พริ้มเพรา ผลเจริญสุข. กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงทพมหานคร :  ไทยวัฒนาพานิช, 2537.

พูนศักดิ์ ประถมบุตร. กายวิภาคและสรีรวิทยา. กรุงทพมหานคร : โอ. เอส. พริ้นดิ้ง เฮ้าส์, 2552.
             
รำแพน พรเทพเกษมสันต์. กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงทพมหานคร : โสภณการพิมพ์, 2549.

รองศาสตราจารย์ สุนีย์ สินธุเดชะ. ระบบร่างานมนุษย์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เอ็มไอเอส, 2558.

วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. กรุงทพมหานคร : อักษรพิทยา, 2545.

อุปถัมถ์ น้อยจันทร์. เอกสารประกอบการสอนวิชากายวิภาคและสรีรวิทยา 1. สุโขทัย :  วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดสุโขทัย, 2543.

สมหมาย แตงสกุล และคณะ. สุขศึกษาและพลศึกษา 3 .4 - 6. กรุงทพมหานคร : บริษัทโรงพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด, (ม..).

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม