LESSON 5 การทดสอบสมรรถภาพทางกาย

บทที่5
การทดสอบสมรรถภาพทางกาย







                การทดสอบสมรรถภาพทางกายเป็นการทดสอบพละกำลังของร่างกายมนุษย์ว่ามีความสมบูรณ์และแข็งแรงแค่ไหน ดังนั้นจะมีการทำแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายออกมาหลากหลายแบบ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดความทนทานของร่างกายรวมทั้งการวิเคราะห์สภาพร่างกายของแต่ละคน เพราะบางครั้งการออกกำลังกายทุกวัน ไม่ได้หมายความว่าร่างกายเรามีความแข็งแรงเพียงพอแล้ว การออกกำลังกายบางอย่างก็ไม่เหมาะสมกับคนบางคน สำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีความใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักกีฬามืออาชีพ การออกกำลังกายอย่างเดียวไม่เพียงพอจึงต้องมีการใช้เกณฑ์ในการวัดความสามารถว่ามีความเหมาะสมที่จะเข้ามาเป็นนักกีฬาหรือไม่

ความหมายของการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
                การทดสอบสมรรถภาพทางกาย หมายถึง การวัดระดับความสามารถของร่างกายหรือส่วนต่างๆของร่างกายที่ต้องการวัดเพื่อประเมินระดับความสามารถว่าดีมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความทนทานของกล้ามเนื้อ ความเร็วพลังกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว ความคล่องแคล่วว่องไวและความทนทานของระบบไหลเวียนโลหิต

ความสำคัญของการทดสอบมรรถภาพทางกาย
                เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจและอธิบายความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของการทดสอบสมรรถภาพทางกายได้ ผู้เรียนบอกวิธีการและขั้นตอนการทดสอบสมรรถภาพทางกายของแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายมาตรฐานระหว่างประเทศได้ ผู้เรียนบอกวิธีการและขั้นตอนทดสอบสมรรถภาพทางกายการทำงานของหัวใจและประสิทธิภาพในการไหลเวียนโลหิตได้ ผู้เรียนบอกวิธีการและขั้นตอนทดสอบสมรรถภาพทางกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ได้ผู้เรียนทดสอบสมรรถภาพทางกาย ประเมินผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านต่างๆได้
                การทดสอบสมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness Test) มีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบผู้ที่เข้าร่วมเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรกับตนเองบ้าง ได้รับการพัฒนาสมรรถภาพในด้านใดหรือบกพร่องในด้านใด เพื่อนำเกณฑ์ที่สร้างขึ้นมาประยุกต์ใช้กับนักกีฬาหรือการทดสอบแบบอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วนั้นโดยจะคำนึงถึงองค์ประกอบที่มีผลต่อการคำนวณและนำไปใช้ในการเปรียบเทียบคือ อายุ ส่วนสูง และน้ำหนักตัว ตลอดจนลักษณะความยาก ง่ายของแบบทดสอบ เพื่อให้สอดคล้องใช้กันได้กับเกณฑ์ที่มีอยู่


ขอบข่ายของการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
                เพื่อเป็นการทำความเข้าใจที่ง่ายและพิจารณาให้ง่ายขึ้น การแบ่งขอบข่ายการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่ชัดเจนจะทำให้ผู้ฝึกสอนกีฬาสามารถมองภาพชัดเจนมากขึ้น ดังที่ กองวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา ได้แบ่งขอบข่ายการทดสอบสมรรถภาพทางกายไว้ดังนี้
                1.การทดสอบโครงสร้างของร่างกาย เช่น อายุ เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง เส้นรอบวงอวัยวะต่างๆ และจำนวนเปอร์เซ็นต์ไขมันใต้ผิวหนัง
                2.การทดสอบสมรรถภาพกล้ามเนื้อ เช่นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความทนทานของกล้ามเนื้อ พลังกล้ามเนื้อ ความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไว เป็นต้น
                3.การทดสอบสมรรถภาพแอโรบิค เป็นการวัดความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดของร่างกาย หือการทดสอบความทนทานของระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจ เช่น การวิ่งระยะไกลการทดสอบด้วยจักรยาน การทดสอบก้าวขึ้นลงม้านั่ง เป็นต้น
                4.การทดสอบสมรรถภาพแอนแอโรบิค เป็นการวัดความสามารถในการไม่ใช้ออกซิเจนร่างกายขณะออกกำลังกาย หรือเป็นการวัดความทนทานของกล้ามเนื้อที่มีต่อกรดแลคติกที่เกิดจากระบวนการการเผาผลาญพลังงานของร่างกายโดยไม่ใช้ออกซิเจน เช่น การวิ่งทดสอบความเร็วระยะสั้น การทดสอบด้วยจักรยาน เป็นต้น

ประโยชน์ของการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
                1.ทำให้ทราบระดับความสามารถของตนเองหรือผู้ที่ถูกทดสอบว่าระดับสมรรถภาพทาง กายที่ทดสอบนั้นอยู่ในระดับดีมากน้อยพียงเมื่อเทียบเกณฑ์มาตรฐาน
                2.ทำให้ทราบถึงการพัฒนาของสมรรถภาพทางกายและสามารถนำไปประยุกต์โปรแกรมการฝึกหรือการออกกำลังกายได้
                3.สมรรถภาพทางกายเป็นตัวชี้วัดอีกด้านในการคัดเลือกนักกีฬาของผู้ฝึกสอน

                4.ระดับสมรรถภาพทางกายที่ได้จากการทดสอบจะเป็นตัวกำหนดหรือข้อพิจารณาในการเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ 

วิธีการที่นิยมใช้ในการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
1. การตรวจร่างกายทั่วไป เพื่อให้ทราบข้อบกพร่องทางสุขภาพและเป็นการตรวจสุขภาพว่ามีโรคภัยและร่างกายแข็งแรงหรือไม่ในเบื้องต้น ของการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
2. การวัดสัดส่วนของร่างกาย การวัดสัดส่วนร่างกาย เพื่อประเมินรูปร่างขนาด ภาวะโภชนาการและส่วนประกอบในร่างกาย (ร้อยละของไขมัน) เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักกับส่วนสูงคำนวณเป็นค่าดัชนีมวลกาย สัดส่วนระหว่างเอวกับสะโพก การวัดเส้นรอบเอว การวัดความหนาของชั้นไขมัน
3. การทดสอบกล้าม การทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยแรงเหยียดขา แรงเหยียดหลัง แรงบีบมือ และ การทดสอบสมรรถภาพทางกาย พลังของกล้ามเนื้อ ได้แก่ การทดสอบด้วยยืนกระโดดไกล และ ว่ายน้ำ ๕๐ เมตรวิ่งระยะ ๑,๐๐๐ เมตร
4. วัดสมรรถภาพของระบบหายใจ การวัดสมรรถภาพของระบบหายใจโดยการประเมินความจุปอด ด้วยเครื่องมือไปโรมิเตอร์หรือ สไปโรเป็นทำ 2 ครั้งหาค่าเฉลี่ยจากปริมาตรของอากาศที่เป่าออกมาต่อน้ำหนักตัวเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับตารางมาตรฐาน จะทำให้ทราบ สมรรถภาพของปอดว่าอยู่ในเกณฑ์
5. วัดสมรรถภาพของระบบไหลเวียนของเลือด การประเมินในส่วนของสัญญาณชีพจรและความดันโลหิตและการวัดขนาดของหัวใจด้วยเอกซ์เรย์ โดยปกติคนที่มีสมรรถภาพทางกายดีจะมีชีพจรขณะพักต่ำกว่าผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายไม่ดี
6. วัดความทนทาน โดยการประเมินเพื่อหาประสิทธิภาพของการใช้ออกซิเจนสูงสุดในขณะออกกำลังกาย ส่วนนี้คือส่วนของการวัดสมรรถภาพของหัวใจและปอดโดยตรง ในการทดสอบจะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ
                2.1 การทดสอบในห้อง ได้แก่การวัดด้วยจักรยานวัดงาน 6 นาที การใช้ลู่กล หรือการก้าวขึ้นลงบันได 3 นาที อ่านค่าอัตราเต้นของหัวใจนำไปคำนวณหาค่าตารางมาตรฐานปรับตัวคูณด้วยอายุและอัตราการจับออกซิเจนสูงสุด วิธีดังกล่าวนี้จำเป็นต้องมีเครื่องมือจักรยานวัดงานลู่กลและขั้นบันไดต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่องมือและตารางค่ามาตรฐานให้ชำนาญ จึงไม่เหมาะที่ใช้กับคนเป็นกลุ่มใหญ่
                2.2 การทดสอบในสนาม ด้วยการวิ่งหรือเดินให้เร็วที่สุดในระยะทางหรือในเวลาที่กำหนดแล้วจับเวลาหรือระยะทาง และชีพจร แล้วนำค่าที่ได้ไปเปิดตารางมาตรฐาน เช่น การทดสอบด้วยการเดิน-วิ่ง 2.4 กิโลเมตร
7.การตรวจห้องปฏิบัติการ การตรวจสอบความสมบูรณ์ของร่างกาย จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
                7.1 การตรวจทางการการแพทย์
                7.2 การทดสอบสมรรถภาพทางกาย

การตรวจทางทางการแพทย์ นั้น จะตรวจดูสภาพร่างกายทั่วไปทุกระบบเพื่อประเมินสุขภาพทั่วไป และแนวโน้มที่จะเกิดโรคบางอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ เป็นต้น จึงได้ทำการตรวจในเรื่องเหล่านี้
1. ตรวจร่างกายทั่วไป เรื่องการเจริญเติบโต , ความเสื่อม , ระบบต่างๆ
2. ตรวจคุณภาพเลือด เจาะเลือดตรวจดูฮีโมโกบิล , ฮีมาโตตริต , เม็ดเลือดขาว
3. ตรวจปัสสาวะ
4. เอกซ์เรย์หน้าอก
5. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การทดสอบสมรรถภาพทางกาย นั้น จะเน้นมาที่ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบประสาทที่เกี่ยวข้อง ระบบหายใจ เพื่อดูคุณภาพของกล้ามเนื้อ และการใช้งานของร่างกายซึ่งจะแบ่งการตรวจออกเป็นระบบ ดังนี้
                1. ตรวจความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่น แรงบีบของมือ , แรงเหยียดขา , แรงเหยียดหลัง เป็นต้น
                2. ตรวจกำลังของกล้ามเนื้อ เช่น ยืนกระโดดไกล , ยืนกระโดดสูง
                3. สมรรถภาพของการหายใจ เช่น ความจุปอด , การหายใจสูงสุด
                4. ทดสอบความอดทน เช่น ลุก-นั่ง 30 วินาที , ดึงข้อยกตัวขึ้น
                5. ตรวจการใช้ออกซิเจนและการไหลเวียนเลือดแบบทดสอบสมรรถภาพเยาวชนของ AAHPER(AAHPER Youth Fitness Test)

        สมาคมสุขศึกษา ,พลศึกษา และนันทการของสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มโครงการทดสอบสมรรถภาพเยาวชนขึ้นในปี ค.ศ.197 โดยทำการสำรวจและทดสอบเยาวชนอเมริกาที่เป็นตัวแทนระหว่างอายุในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงชั้นมัธยมที่6 (เกรด 5 ถึงเกรด 12 ) จำนวน 8,500 คน การทดสอบนับว่าได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะทำให้เยาวชนอเมริกาทั้งชายและหญิงพากันตื่นตัวในเรื่องสุขภาพและสมรรถภาพทางกาย ทำให้เขาได้ทราบความบกพร่องของคุณภาพตัวเอง และได้หันมาปรับปรุงสุขภาพ และสมรรถภาพของตนให้ดีขึ้นเป็นอย่างมาก รัฐบาลในสมัยประธานาธิบดี ไอเชนเฮาว์ ได้ให้การสนับสนุนเป็นพิเศษและได้ตั้งสมรรถภาพทางกายสำหรับเยาวชนขึ้นชุดหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1956 ขึ้นตรงต่อประธานาธิบดี รับผิดชอบสมรรถภาพทางกายของเยาวชนโดยเฉพาะ
                แบบทดสอบประกอบข้อสอบ 7 รายการดังนี้
                1. ก.ดึงข้อ Pull-ups สำหรับนักเรียนชาย
                    ข.งอแขนห้อยตัว Flexed arm hang สำหรับนักเรียนหญิง
                2. ลุก-นั่ง Sit-ups
                3. วิ่งเก็บของ 40 หลา 40-Yard shuttle run
                4. ยืนกระโดดไกล Standing broad jump
                5. วิ่ง 50 หลา 50- Yard dash
                6. ขว้างลูกซอฟต์บอล Softball throws for distance
                7. วิ่ง-เดิน 600 หลา 600 Yard run walk

แบบทดสอบสมรรถภาพเยาวชนของ AAHPER
               สมาคมสุขศึกษา,พลศึกษา และนันทนาการของสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มโครงการทดสอบสมรรถภาพเยาวชนขึ้นในปี ค.ศ. 1957 โดยการทำการสำรวจและทดสอบเยาวชนอเมริกาที่เป็นตัวแทนระหว่างอายุในชั้นประถมปีที่ 5  ถึงชั้นมัธยมปีที่ 6  (เกรด 5 ถึงเกรด 12 ) จำนวน 8,500 คน การทดสอบนับว่าได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะทำให้เยาวชนอเมริกาทั้งชายหญิงพากันตื่นตัวในเรื่องสุขภาพและสมรรถภาพทางกาย ทำให้เขาได้ทราบความบกพร่องของสุขภาพตัวเอง และได้หันมาสนใจปรับปรุงสุขภาพ และสมรรถภาพของตนให้ดียิ่งขึ้นเป็นอย่างมาก รัฐบาลในสมัยประธานาธิบดี ไอเชนเฮาว์ ได้ให้การสนับสนุนเป็นพิเศษและได้ตั้งคณะกรรมการสมรรถภาพทางกายสำหรับเยาวชนขึ้นชุดหนึ่ง ในปี ค.. 1956 ขึ้นตรงต่อประธานาธิบดี รับผิดชอบสมรรถภาพทางกายของเยาวชนโดยเฉพาะ 
แบบทดสอบประกอบด้วยข้อสอบ 7 รายการดังนี้
      1. ก.ดึงข้อ Pull-ups สำหรับนักเรียนชาย
          ข.งอแขนห้อยตัว Flexed arm hang สำหรับนักเรียนหญิง
       2. ลุก นั่ง Sit – ups
       3. ยืนกระโดดไกล Standing broad jump
       4. วิ่ง 50 หลา 50 – Yard dash
       5. ขว้างลูกซอฟบอล Softball Throw for distance
       6. วิ่ง  - เดิน 600 หลา 600 Yard run walk

วิธีการดำเนินการทดสอบ
      การทดสอบจะต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้า ตั้งแต่การสร้างอุปกรณ์เครื่องอำนวยความสะดวก และสถานที่ในการทดสอบ ซึ่งอาจใช้กลางแจ้ง หรือในร่มก็ได้อาจจัดแบ่งนักเรียนเป็นผู้ช่วยในการทดสอบ ถ้าไม่สามารถทดสอบทั้ง 7 รายการให้เสร็จในวันเดียวได้ ให้แบ่งทำการทดสอบเป็น 2 ระยะ ควรเป็น 2 วัน คือ
    วันแรกทำการทดสอบ 4 รายการ คือ
      1. ก.ดึงข้อ สำหรับนักเรียนชาย
          ข.งอแขนห้อยตัว สำหรับนักเรียนหญิง
    2. ลุก – นั่ง
     3. วิ่งเก็บของ
     4. ยืนกระโดดไกล
      วันที่ 2 สำหรับการทดสอบเด็ก 3 รายการ คือ
    1. วิ่ง 50 หลา     
    2. ขว้างลูกซอฟบอล
    3. วิ่ง - เดิน 600 หลา
    การทดสอบต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีความบกพร่องทางร่างกาย ก่อนการทดสอบอนุญาตให้นักเรียนอบอุ่นร่างกายได้ สำหรับกลุ่มในการทดสอบจะทำการแบ่งกลุ่มได้โดยอาศัยดรรชนีการแบ่งกลุ่มของเนลสัน และไดเชนส์ โดยใช้ส่วนสูง อายุ และน้ำหนัก เป็นเกณฑ์
รายละเอียดการทดสอบและวิธีปฏิบัติ

1. ก.ดึงข้อ Pull-ups สำหรับนักเรียนชาย

วัตถุประสงค์ เพื่อวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและไหล่

อุปกรณ์
1. ราวเดี่ยวความสูงพอประมาณ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว
2. เก้าอี้ บันได สำหรับขึ้นจับราว

วิธีปฏิบัติ 
         1.ผู้ทดสอบขึ้นจับราวในท่าคว่ำมือปล่อยตัวจนแขนลำตัวและขาเหยียดตรงเป็นท่าตั้งตรงเป็นท่าตั้งต้น
         2.ออกแรงงอแขนดึงตัวขึ้นจนคางพ้นราว แล้วหย่อนตัวกลับมาในท่าตั้งต้น งอแขนดึงตัวขึ้นมาใหม่
         3.ทำซ้ำให้ได้มากที่สุด ห้ามแกว่งหรือเตะขา ถ้าดึงขึ้นแล้วคางไม่พ้นราวหรือหยุดเกิดกว่า 3 วินาทีให้หยุดการทดสอบ
         4.นับจำนวนครั้งทีทำได้

กฎของการทดสอบ
1. อนุญาตให้ทำได้ก่อน 1 ครั้ง ถ้าต้องการ
2. ขณะที่ดึงลำตัวขึ้นร่างกายต้องไม่แกว่ง ลักษณะดึงจะต้องไม่กระตุก หรือกระชาก ถ้าร่างกายนักเรียนแกว่ง ให้ครูหรือผู้กำกับการทดสอบ เหยีดแขนตรงบริเวณต้นขาของนักเรียนไว้
3. เข่าต้องไม่งอ และห้ามเตะเท้าขณะดึง


                   

อายุ ( ปี)


ระดับสมรรถภาพ
13
14
15
16
17
ต่ำมาก
1 ลงมา
2 ลงมา
3 ลงมา
4 ลงมา
5 ลงมา
ต่ำ
2 -3
3 - 4
4 - 5
5 - 6
5 - 7
พอใช้
4 - 5
5 - 7
6 - 9
7 - 10
8 - 10
ดี
6 - 8
8 - 10
10 - 11
11 - 13
11 - 14
ดีมาก
9 ขึ้นไป
11 ขึ้นไป
12 ขึ้นไป
14 ขึ้นไป
15 ขึ้นไป

ตารางที่ 5.1 เกณฑ์เทียบผล ดึงข้อ (ครั้ง)
แหล่งที่มาตาราง หนังสือวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย หน้า 109

     ข.งอแขนห้อยตัว Flexed arm hang สำหรับนักเรียนหญิง

วัตถุประสงค์  เพื่อวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและไหล่

อุปกรณ์
     ราวเดี่ยว ลักษณะเช่นเดียวกับของนักเรียนชาย แต่ควรลดลงให้ต่ำกว่า และมีนาฬิกาจับเวลา 1 เรือน

วิธีปฏิบัติ
1. เริ่มต้นในท่าเริ่มต้นโดยให้ผู้รับการทดสอบ งอแขนให้ค้างอยู่เหนือราวเล็กน้อยเป็นท่าเริ่มต้น
2. ผู้รับการทดสอบต้องเกร็งข้อแขน และดึงตัวไว้ในท่าเดิมให้นานที่สุด ถ้าลำตัวลดต่ำลงจนคางถึงราว ให้ยุติการทดสอบ
3. จับเวลาตั้งแต่เริ่มต้นยุติเป็นวินาที

กฎของการทดสอบ
1. เริ่มจับเวลาเมื่อนักเรียนอยู่ในท่าเตรียมพร้อม และผู้ช่วยปล่อยมือจากนักเรียน
2. หยุดจับเวลาเมื่อ
2.1 คางของนักเรียนแตะราว
2.2 ศีรษะของนักเรียนหงายไปด้านหลัง เพื่อไม่ให้คางแตะราว
2.3 คางของนักเรียนอยู่ต่ำกว่าระดับราว


                   

อายุ ( ปี)


ระดับสมรรถภาพ
13
14
15
16
17
ต่ำมาก
2 ลงมา
2 ลงมา
2 ลงมา
2 ลงมา
3 ลงมา
ต่ำ
3-6
3-6
3-6
3-6
3-6
พอใช้
7-12
7-12
7-12
7-12
7-12
ดี
13-20
13-21
13-21
13-25
13-25
ดีมาก
21 ขึ้นไป
22 ขึ้นไป
22 ขึ้นไป
26 ขึ้นไป
26 ขึ้นไป
                                
ตารางที่ 5.2 เกณฑ์เทียบผล งอแขนห้อยตัว (วินาที)
แหล่งที่มาตาราง หนังสือวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย หน้า 109

2.ลุก – นั่ง Sit – ups
วัตถุประสงค์  เพื่อความแข็งแรง และความทนทานของกล้ามเนื้อท้อง
อุปกรณ์  เบาะ เสื่อ หรือพื้นราบ
วิธีปฏิบัติ
      ให้นักเรียนนอนหงายเหยียดเท้าบนเบาะ หรือพื้นราบ ให้เท้าสองข้างห่างกัน ประมาณ 2 ฟุต เอามือทั้งสองข้างประสานไว้ที่ท้ายทอย ปล่อยศอกกางตามสบาย มีผู้ช่วยเหลือหนึ่งคนนั่งคุกเข่ากดข้อเท้าของนักเรียนให้ส้นเท้าแตะเบาะหรือพื้นอยู่ตลอดเวลาแล้วให้นักเรียนลุกขึ้นสู่ท่านั่ง โน้มตัวไปข้างหน้า บิดลำตัวไปทางซ้ายให้ศอกขวาแตะเข่าขวา ทำกลับกันเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ
กฎของการทดสอบ
                1.มือของนักเรียนจะต้องประสานกันอยู่ที่ท้ายทอยตลอดเวลาการทดสอบ
                2.เข่าทั้งสองต้องตึงและอยู่บนพื้นตลอดเวลา เว้นแต่ตอนที่เอาศอกแตะเข่านั้น เข่างอได้บ้างเล็กน้อย
                3.หลังต้องโค้งขณะลุกขึ้นสู่ท่านั่ง โดยให้ศอกและศีรษะโค้งไปข้างหน้า
                4.เมื่อกลับสู่ท่าเริ่ม ศอกต้องวางบนพื้นก่อนที่จะลุกนั่งต่อไปอีก
                การให้คะแนน ให้ 1 คะแนน เมื่อทำได้ถูกต้อง ไม่ให้คะแนนถ้ามือที่ประสานท้ายทอยหลุด หรือเข่างอ หรือใช้ศอกช่วยเวลาลุกขึ้นนั่ง คะแนนเต็ม สำหรับนักเรียนหญิงคือ 50 คะแนน คะแนนเต็มสำหรับชาย คือ 100 คะแนน
ระดับสมรรถภาพ
นักศึกษาระดับอุดมศึกษา


ชาย
หญิง
ต่ำมาก
28 ลง
15 ลงมา
ต่ำ
29-35
16-22
พอใช้
36-51
23-38
ดี
52-67
39-50
ดีมาก
68 ขึ้นไป
51 ขึ้นไป
ตารางที่ 5.3 เกณฑ์เทียบผล ลุก-นั่ง (ครั้ง)
แหล่งที่มาตาราง หนังสือวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย หน้า 110

3.วิ่งเก็บของ 40 หลา 40 Yard Shuttle run
วัตถุประสงค์  เพื่อวัดความคล่องแคล่วว่องไว

อุปกรณ์       ท่อนไม้ขนาด 2 x 2 x 4 นิ้ว 2 อัน นาฬิกาจับเวลา นักเรียนจะสวมรองเท้าผ้าใบหรือ วิ่งเท้าเปล่า

วิธีปฏิบัติ
                ขีดเส้นขนานบนพื้นห่างกัน 30 ฟุต หรือจะใช้ความก้าวของสนามวอลเลย์บอลก็ได้ วางท่อนไม้ไว้หลังเส้นด้ายหนึ่ง นักเรียนเริ่มการทดสอบจากหลังเส้นอีกด้านหนึ่ง ซึ่งถือเป็นเส้นเริ่มเมื่อได้ยินสัญญาณ “ระวัง” “ไป” นักเรียนวิ่งไปหยิบท่อนไม้ท่อนหนึ่งแล้ววิ่งกลับนำท่อนไม้นั้นมา
วางไว้หลังเส้นเริ่ม แล้ววิ่งกลับไปหยิบท่อนไม้ท่อนที่ 2 กลับผ่านเส้นเริ่มโดยไม่ต้องวางไม้ท่อนที่ 2 หลังเส้นเริ่มเหมือนท่อนแรก ถ้ามีนาฬิกาจับเวลา 2 เรือน ควรทำการทดสอบนักเรียนครั้งละ 2 คน เป็นการแข่งขันกันและรวดเร็วดี
กฎของการทดสอบ
                อนุญาตให้ประลองได้ตนละ 2 ครั้ง โดยมีเวลาพักระหว่างการประลองการให้คะแนนบันทึกเวลาครั้งที่ดีที่สุดในการประลอง 2 ครั้ง เป็นวินาที และทศนิยม 1 ตำแหน่ง

                4.ยืนกระโดดไกล Standing broad jump
วัตถุประสงค์  เพื่อวัดพลังหรืออำนาจบังคับตัว
อุปกรณ์       พื้นดิน พื้นราบ หรือแผ่นยางสำหรับยืนกระโดดไกล เส้นเริ่ม เทปวัดระยะ
วิธีปฏิบัติ
                นักเรียนที่ส้นเริ่ม โดยให้ปลายเท้าจรดเส้นเริ่ม เท้าทั้งสองห่างกันพอควร เมื่อพร้อมที่จะกระโดดให้แกว่งแขนไปข้างหลัง ย่อเข่า เอนตัวไปข้างหน้า แล้วจึงเหวี่ยงแขนไปข้างหน้า ถีบเท้ากระโดดไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด (ดูส่วนส้นเท้าที่ลงพื้นใกล้ที่สุดเป็นความไกล)
กฎของการทดสอบ
                1.อนุญาตให้ประลองได้ 3 ครั้ง
                2.วัดระยะจากเส้นเริ่ม ไปยังจุดที่ส้นเท้าหรือส่วนอื่นของร่างกายแตะพื้นซึ่งอยู่ใกล้เคียงเส้นเริ่มมากที่สุด
                3.ถ้าทำการทดสอบในอาคารที่พื้นเรียบ ให้วางแขนเทปตั้งฉากกับเส้นเริ่มและให้นักเรียนกระโดดคร่อมไปตามเทปวัด ผู้ทดสอบยืนอยู่ข้างๆ และค่อยสังเกตจุดตกใกล้เส้นที่เริ่มที่สุด
*****************************************

ระดับสมรรถภาพ
ระดับอุดมศึกษา


ชาย
หญิง
ต่ำมาก
205 ลงมา
147 ลงมา
ต่ำ
206-213
148-157
พอใช้
214-231
158-172
ดี
232-246
172-187
ดีมาก
257 ขึ้นไป
188 ขึ้นไป

ตารางที่ 5.4 เกณฑ์เทียบผล ยืนกระโดดไกล (เซนติเมตร)
แหล่งที่มาตาราง หนังสือวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย หน้า 111

5.วิ่งเร็ว 50 หลา (ใช้ทดสอบทั้งชายและหญิง)
วัตถุประสงค์  เพื่อวัดความเร็ว
อุปกรณ์
                1.นาฬิกาจับเวลาอ่านละเอียด 1/100 วินาที
                2.ลู่วิ่งตรงความยาว 50 เมตร มีเส้นเริ่มและเส้นหยุด
                3.สัญญาณการออกตัว
บันทึกการทดสอบ
                1.อนุญาตให้ใส่หรือไม่ใส่รองเท้าก็ได้
                2.จะต้องไม่ออกวิ่งก่อนเสียงสัญญาณเริ่ม
วิธีปฏิบัติ
                ให้ผู้เข้ารับการทดสอบหรือหลังเส้นเริ่ม ปลายเท้าอยู่ชิดเส้นเริ่ม จะเริ่มออกวิ่งแบบนั่งหรือยืนก็ได้ เมื่อได้ยินสัญญาณ “ไป” ให้ออกวิ่งเต็มฝีเท้าจนถึงเส้นชัย คิดคะแนนจากเวลาที่จับได้เป็นวินาที
ระดับสมรรถภาพ
เยาวชนชาย
เยาวชนหญิง

อายุไม่เกิน 17 ปี
อายุไม่เกิน 17 ปี
ต่ำมาก
7.0 ขึ้นไป
9.0 ขึ้นไป
ต่ำ
6.9-6.7
8.9-8.5
พอใช้
6.6-6.7
8.4-8.7
ดี
6.2-6.1
7.8-7.3
ดีมาก
6.0 ลงมา
7.2 ขึ้นไป
ตารงที่ 5.5 เกณฑ์เทียบผล วิ่งเร็ว 50 หลา (วินาที)
แหล่งที่มาตาราง หนังสือวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย หน้า 111

6.ขว้างลูกซอฟบอล (ใช้ทดสอบทั้งชายและหญิง)
วัตถุประสงค์  เพื่อวัดกำลังและการประสานงานของแขนและไหล่
บันทึกการทดสอบ
                1.ใช้การขว้างแบบเหนือไหล่
     2.ให้ประลอง 3 ครั้ง
     3.ขณะที่ขว้าง อนุญาตให้ก้าวเท้าได้ แต่ต้องไม่ล้ำเส้นเขตขว้าง
     4.วัดระยะจากจุดที่ลูกซอฟบอลตก มายังเส้นขวาง
วิธีปฏิบัติ
                1.ภายหลังรับหรือจับลูกบอลได้แล้วให้ก้าวเท้าไม่ถนัดไปข้างหน้า น้ำหนักตัวอยู่เท้าหลัง มือทั้งสองยกขึ้นมือข้างที่สวมถุงมือยกขึ้นอยู่ระดับคาง ข้อศอกงอ มืออีกข้างหนึ่งถือบอล ข้อศอกงอลูกบอลอยู่ระดับไหล่หรือต่ำกว่าเล็กน้อยข้างลำตัว สายตามองเป้าหมาย
                2.ก้าวเท้าที่อยู่ข้างหน้าไปข้างหน้าอีกเล็กน้อย พร้อมถ่ายน้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปเท้าหน้า เท้าหลังแตะพื้นอยู่ด้วยปลายเท้า น้ำหนักตัวตกอยู่เท้าหน้าเต็มเท้า บิดลำตัวส่งแรงต่อเนื่อง ภายหลังถ่ายน้ำหนักตัวจากเท้าหลังมาเท้าหน้า บิดสะโพกเหวี่ยงเเขนที่อยู่ข้างหน้าไปข้างหลัง มือที่ถือลูกบอลรับการถ่ายแรงจากเท้าหลังมาที่สะโพก หลังไหล่ แขน มือ สู่ลูกบอลตามลำดับภายหลังลูกบอลหลุดจากมือแล้วยังคงส่งแรงไปตามทิศทางของลูกบอล สายตามองเป้าหมาย

         7.วิ่ง-เดิน 600 หลา (ใช้ทดสอบทั้งหญิงและชาย)
วัตถุประสงค์. เพื่อวัดความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ
บันทึกการทดสอบ
               1.อนุญาตให้วิ่งและเดินสลับกันได้
               2.พยายามทำเวลาให้ได้น้อยที่สุ
วิธีปฏิบัติ

         ให้ผู้รับการทดสอบยืนหลังเส้นเริ่ม เมื่อได้รับสัญญาณ “ไป” ให้ออกวิ่งไปตามเส้นทางที่กำหนด อาจวิ่งหรือเดินสลับกันก็ได้ จนถึงเส้นชัย แต่ต้องทำเวลาให้ได้น้อยที่สุด

แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของ ICSPET
                แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายมาตรฐานระหว่างประเทศ ที่นิยมใช้กันและเป็นที่ยอมรับจากประเทศต่างๆทั่วโลกว่าเป็นแบบทดสอบที่เหมาะสมสำหรับผู้สนใจทั่วไปแลละสามารถทดสอบด้วยตนเองได้ คือแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายมาตรฐานนานาชาติ ใช้ชื่อย่อว่า ICSPET
( International Committee Standard of Physical Fitness Teat ) ใช้วัดสมรรถภาพทางกายโดยทั่วไปใช้ทดสอบสมรรถภาพทั้งชายและหญิง อายุระหว่าง 6-32 ปี ประกอบด้วยแบบทดสอบย่อย 8 รายการ ได้แก่
1. วิ่งเร็ว 50 เมตร ( 50 Meter Sprit )
2. ยืนกระโดดไกล
3. แรงบีบมือ ( Grip StrengTh )
4. ลุก – นั่ง ใน 30 วินาที ( 30 second sit – up )
5.  ก. ดึงข้อ สำหรับชายอายุ 12 ปี ขึ้นไป
ข. งอแขนห้อยตัว สำหรับชายอายุต่ำกว่า 12 ปี และหญิงทุกระดับอายุ
                      6. วิ่งเก็บของ ( Shuttle Run )
                      7. นั่งงอตัวไป ( Trunk Forward Flexion )
                      8. วิ่งระยะไกล ( Distance Run ) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
                                                ก. วิ่ง 1,000 เมตร สำหรับชายอายุ 12 ปี ขึ้นไป
                                                ข. วิ่ง 800 เมตร สำหรับหญิงอายุ 12 ปี ขึ้นไป
                                                ค. วิ่ง 600 เมตร ทั้งชายและหญิงที่อายุต่ำกว่า 12 ปี
รายละเอียดและวิธีปฏิบัติในการทดสอบ
1. วิ่งเร็ว 50 เมตร ใช้ทดสอบทั้งชายและหญิง
วัตถุประสงค์  เพื่อวัดความเร็ว
อุปกรณ์                         
1. นาฬิกาจับเวลา ( บอกทศนิยมตัวแรกของวินาที )
2. ลู่วิ่ง 50 เมตร มีเส้นเริ่มและเส้นชัย
3. นกหวีดสำหรับปล่อยตัว หรือปืนปล่อยตัว
วิธีปฏิบัติ
                ให้ผู้เข้ารับการทดสอบยืนเริ่มต้นหลังเส้นเริ่ม เมื่อได้ยินสัญญาณ ไป หรือ สัญญาณปล่อยตัวอื่นใด ให้วิ่งด้วยความเร็วเต็มที่ผ่านเส้นชัย
การบันทึก
                บันทึกเป็นวินาทีและทศนิยมตำแหน่งแรกของวินาที เอาเวลาที่ดีที่สุดจากการประลอง 2 ครั้ง



ภาพที่ 5.1 วิ่ง 500 เมตร
แหล่งที่มารูปภาพ  http://www.cadetcentre.com/main/jupgrade/index.php/pt

1.ยืนกระโดดไกล ใช้ทดสอบทั้งชายแหละหญิง
วัตถุประสงค์       เพื่อวัดกำลัง
อุปกรณ์
1.พื้นที่เรียบและไม่เลื่อน หรือใช้แผ่นยางสำหรับยืนกระโดดไกล
2.เทปวัดระยะ
วิธีปฏิบัติ
                ให้ผู้ทดสอบยืนปลายเท้าทั้งสองข้างชิดเส้นเริ่ม เหวี่ยงแขนทั้งสองไปข้างหลังพร้อมก้มตัวเมื่อได้จังหวะเหวี่ยงแขนไปข้างหน้าอย่างแรงพร้อมกับกระโดดด้วยเท้าทั้งสองไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด
การบันทึก  บันทึกระยะทางที่ทำได้เป็นเซนติเมตร เอาระยะที่ไกลที่สุดจากการประลอง 2 ครั้ง


ผลการประเมิน
ชาย ( ซม. )
หญิง ( ซม. )
ดีเยี่ยม
>250
>200
ดีมาก
241-250
191-200
ดี
231-240
181-190
พอใช้
221-230
171-180
ค่อนข้างต่ำ
211-220
161-170
ต่ำ
191-210
141-160
ต่ำมาก
<191
<141

ตารางที่ 5.6 เกณฑ์เทียบผลยืนกระโดไกล ( ผู้ใหญ่ )
แหล่งที่มาตาราง : http://www.ipecp.ac.th




ภาพที่ 5.2 ยืนกระโดดไกล

3.  แรงบีบมือ ใช้ทดสอบทั้งชายละหญิง
วัตถุประสงค์       เพื่อประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและมือ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ  เครื่องวัดกำลังกล้ามเนื้อมือ ( Grip Dynamometer )
วิธีปฏิบัติ
1. ให้ผู้รับการทดสอบยืนลำตัวตรง เหยียดแขนทั้งสองข้างไว้ข้างลำตัว ทำการทดสอบในแขนข้างที่ถนัด โดยให้ข้อสอบเหยียดตึง แขนวางแนบข้างลำตัวในท่าคว่ำมือ
2. ให้ผู้รับการทดสอบถือเครื่องวัดกำลังกล้ามเนื้อมือ แล้วกางแขนออกประมาณ 15 องศา เมื่อผู้ทดสอบให้สัญญาณ เริ่ม ให้ออกแรงบีบเครื่องวัดกำลังกล้ามเนื้อมือให้แรงมากที่สุด แล้วปล่อย
การบันทึก
                วัดแรงบีบมอที่ได้เป็นกิโลกรัม โดยให้ปฏิบัติจำนวน 2 ครั้ง และบันทึกผลการทดสอบของครั้งที่บีบมือได้แรงมากที่สุด



ภาพที่ 5.3 แรงบีบมือ
แหล่งที่มารูปภาพ
https://4.bp.blogspot.com/-In1IH3uLvEw/WPhjmjASUpI/


                                                                                                                                             
หน่วย : กิโลกรมต่อน้ำหนักตัว
ช่วง
อายุ
( ปี )
รายการ แรงบีบมือ ( Handgrip Strength )
เพศชาย
เพศหญิง
ต่ำมาก
ต่ำ
ปานกลาง
ดี
ดีมาก
ต่ำมาก
ต่ำ
ปานกลาง
ดี
ดีมาก
19
0.58 ลงมา
0.59-0.66
0.67-0.74
0.75-0.82
0.83 ขึ้นไป
0.41 ลงมา
0.42-0.48
0.49-0.55
0.56-0.62
0.63 ขึ้นไป
20-24
0.59 ลงมา
0.60-0.67
0.68-0.75
0.76-0.83
0.84 ขึ้นไป
0.43 ลงมา
0.44-0.50
0.51-0.57
0.58-0.64
0.65 ขึ้นไป
25-29
0.53 ลงมา
0.54-0.63
0.64-0.73
0.74-0.84
0.85 ขึ้นไป
0.41 ลงมา
0.42-0.48
0.49-0.55
0.56-0.62
0.63 ขึ้นไป
30-34
0.50 ลงมา
0.51-0.60
0.61-0.70
0.71-0.80
0.81 ขึ้นไป
0.39 ลงมา
0.40-0.46
0.47-0.53
0.54-0.60
0.61 ขึ้นไป
35-39
0.46 ลงมา
0.47-0.56
0.57-0.66
0.67-0.76
0.77 ขึ้นไป
0.38 ลงมา
0.39-0.45
0.46-0.52
0.53-0.59
0.60 ขึ้นไป
40-44
0.40 ลงมา
0.41-0.50
0.51-0.60
0.61-0.70
0.71 ขึ้นไป
0.37 ลงมา
0.38-0.44
0.45-0.51
0.52-0.58
0.59 ขึ้นไป
45-49
0.37 ลงมา
0.38-0.48
0.49-0.59
0.60-0.70
0.71 ขึ้นไป
0.35 ลงมา
0.36-0.42
0.43-0.49
0.50-0.56
0.57 ขึ้นไป
50-54
0.33 ลงมา
0.34-0.45
0.46-0.57
0.58-0.69
0.70 ขึ้นไป
0.34 ลงมา
0.35-0.40
0.41-0.46
0.47-0.52
0.53 ขึ้นไป
55-59
0.32 ลงมา
0.33-0.44
0.45-0.56
0.57-0.68
0.69 ขึ้นไป
0.33 ลงมา
0.34-0.38
0.39-0.43
0.44-0.48
0.49 ขึ้นไป
ตารางที่ 5.7 เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย แรงบีบมือ
แหล่งที่มาตาราง http://ft.dpe.go.yh/app/puublic/download/Test_19-59.pdf
  
4. ลุก-นั่งใน 30 วินาทีใช้ทดสอบทั้งชายและหญิง
วัตถุประสงค์       เพื่อวัดความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อท้อง
อุปกรณ์
1.นาฬิกาจับเวลา
2.พื้นสนามที่เรียบหรือเบาะนิยมนาสติก
วิธีปฏิบัติ
ปฏิบัติคล้ายลุก-นั่ง AAHPER เพียงแต่ให้เข่างอตัวเป็นมุมฉากปลายเท้าแยกทางห่างขนาดช่วงไหล่ เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่ม (เริ่มจับเวลา) ให้ผู้เข้าร่วมกับการทดสอบยกลำตัวขึ้น ก้มศรีษะลงไประหว่างเข่าทั้งสองข้าง ทำสลับกันจนหมดเวลาบันทึกจำนวนครั้งที่ถูกต้อง (มือไม่หลุดจากกัน) เอาไว้
การบันทึก บันทึกจำนวนครั้งที่ถูกต้องใน 30 วินาที



ภาพที่ 5.4 ลุก-นั่ง
แหล่งที่มารูปภาพ 
5. ดึงข้อและงอแขนห้อยตัว                                          
วัตถุประสงค์ วัดความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อและแขนไหล่
เจ้าหน้าที่ ผู้จัดท่าทางและจับเวลา 1 คน, ผู้บันทึก 1 คน
                ก. ดึงข้อ ใช้สำหรับชาย
                ข. งอแขนห้อยตัว ใช้ทดสอบสำหรับหญิง และเด็กชายที่อายุต่ำกว่า 12 ปี
อุปกรณ์
                1. ราวเดี่ยวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าท่อประปาขนาด 1 นิ้ว
                2. เก้าอี้สำหรับรองเท้าเวลายืนขึ้นจับราว
                3. ผ้าเช็ดมือ
                4. นาฬิกาจับเวลา 1 เรือน
วิธีปฏิบัติ   งอแขนห้อยตัวจัดม้านั่งที่ใช้รองเท้าให้สูงพอที่เมื่อรับผู้การทดสอบยืนตรงบนม้านั่งแล้วคางจะอยู่เหนือราวเล็กน้อยผู้รับการทดสอบจับราวด้วยท่าคว่ำมือทั้งสองห่างกันเท้าช่วงไหล่และแขนงอเต็มที่ เมื่อให้สัญญาณ “เริ่ม” (พร้อมกับเอาม้านั่งออก) ผู้รับการทดสอบต้องเกร็งข้อแขนและดึงตัวให้คางอยู่เหนือราวนานที่สุดถ้าคางต่ำลงถึงราวให้ยุติการประลอง
วิธีปฏิบัติ ดึงข้อจัดระดับราวเดี่ยวให้สูงพอที่เมื่อผู้เข้าทดสอบห้อยตัวจนสุดแล้วเท้าไม่ถึงพื้นให้ผู้เข้ารับการทดสอบยืนบนม้านั่งจับราวในท่าคว่ำมือห่างกันเท่าช่วงไหล่เอาม้ารองออกแล้วให้ผู้เข้าทดสอบปล่อยตัวจนสุดแขนลำตัวและขาเหยียดตรง เป็นท่าเริ่มต้นเกร็งแขนดึงตัวขึ้นจนคางอยู่เหนือราวแล้วกลับสู่ท่าเริ่มต้นทำติดต่อกันไปให้จำนวนครั้งมากที่สุดห้ามแกว่งเท้าหรือเตะขาถ้าหยุดพักระหว่างครั้ง (ขึ้น-ลง) นานเกินกว่า 3 วินาทีขึ้นไปหรือไม่สามารถดึงให้คางพ้นราวได้ 2 ครั้ง ติดกันให้ยุติการทดสอบ
การบันทึก บันทึกเวลาเป็นวินาทีจาก “เริ่ม” จนคางต่ำลงถึงราว



ภาพที่ 5.5 ดึงข้อและงอแขนห้อยตัว
วัตถุประสงค์ วัดความคล่องตัว
อุปกรณ์
1.นาฬิกาจับเวลาอ่านละเอียด 1/100 วินาที
2.ทางวิ่งเรียบระหว่างเส้นขนาน 2 เส้น ระยะทาง 10 เมตร หลังเส้นเริ่มมีทางวิ่งเลยออกไปชิดด้านนอกของเส้นทั้งสอง มีวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 เซนติเมตร
3.ไม้คฑา 2 อัน
วิธีการทดสอบ
วางไม้สองท่อนไว้กลางวงที่อยู่ชิดเส้นตรงข้ามเส้นเริ่มผู้รับการทดสอบยืนให้เท้าข้างหนึ่งชิดเส้นเริ่ม เมื่อพร้อมแล้วผู้ปล่อยตัวเริ่มสั่ง “ไป” ให้ผู้รับการทดสอบวิ่งไปหหยิบท่อนไม้ในวงกลม 1 ท่อนวิ่งกลับมาวางในวงกลมหลังเส้นเริ่ม แล้วกลับตัววิ่งไปหยิบท่อนไม้อีกท่อนหนึ่งวิ่งกลับมาวางไว้ในวงกลมหลังเส้นเริ่ม แล้ววิ่งไปเลย ห้ามโยนท่อนไม้ไวถ้าวางไม่เข้าในวงกลมต้องเริ่มต้นใหม่
การบันทึก
บันทึกเวลาตั้งแต่ “ไป” จนถึงวางท่อนไม้ท่อนที่ 2 ลงและบันทึกเวลาให้ละเอียดถึงทศนิยมอันดับแรกของวินาที ให้ประลอง 2 ครั้ง ใช้ผลของครั้งที่เวลาดีที่สุด



ภาพที่ 5.6 วิ่งเก็บของ
7. นั่งงอตัวไปข้างหน้า
วัตถุประสงค์ วัดความอ่อนตัว
อุปกรณ์
             1.ม้าวัดความอ่อนตัว
             2.เสื่อ 1 ผืน
วิธีการทดสอบ
ให้ผู้รับการทดสอบนั่งเหยียดขาตรงสอดเข้าใต้ไม้วัด โดยเท้าตั้งฉากกับพื้นและชิดกับฝ่าเท้าจรดแนบกับที่ยันเท้าเหยียดแขนตรงขนานกับพื้นแล้วค่อยๆ ก้มตัวไปข้างหน้าให้มืออยู่บนม้า วัดจนไม่สามารถก้มตัวได้ต่อไปให้ปลายมือเสมอกันและรักษาระยะทางไว้ได้นาน 2 วินาทีขึ้นไป อ่านระยะจากจุด “0” ถึงปลายมือ (ห้ามโยกตัวหรืองอตัวแรงๆ)
การบันทึก
              บันทึกระยะเป็นเซนติเมตร ถ้าเหยียดจนปลายมือเลยปลายเท้า บันทึกค่าเป็นบวก ถ้าไม่ถึงปลายเท้า ค่าเป็นลบ ใช้ค่าที่ดีกว่าในการประลอง 2 ครั้ง



ตารางที่ 5.7 เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย “นั่งงอตัวไปข้างหน้า”
แหล่งที่มาตาราง https://www.slideshare.net/OhmTarit/1959-46420785




ภาพที่ 5.8 งอตัวไปข้างหน้า
8. วิ่งระยะไกล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
ก. วิ่ง 1,000 เมตร สำหรับชายอายุ 12 ปีขึ้นไป
ข. วิ่ง 800 เมตร สำหรับหญิงอายุ 12 ปีขึ้นไป
ค. วิ่ง 600 เมตร ทั้งชายและหญิงที่อายุต่ำกว่า 12 ปี
วัตถุประสงค์
วัดความทนทานของกล้ามเนื้อขา สะโพกและความทนทานของระบบไหลเดวียนโลหิต
อุปกรณ์
           1.สนามวิ่งตามที่กำหนด
           2.นาฬิกาจับเวลา 1 เรือน
           3.เบอร์ติดเสื้อตามจำนวนนักเรียน
เจ้าหน้าที่
ผู้ปล่อยตัวและผู้จับเวลา 1 คน, ผู้บันทึกตำแหน่ง 1 คน, ผู้บันทึกเวลา 1 คน
วิธีการทดสอบ
ให้สัญญาณ “เข้าที่” ผู้รับการทดสอบยืนปลายเท้าข้างใดข้างหนึ่งชิดเส้นเริ่ม เมื่อผู้ให้สัญญาณ “ไป” ให้ออกวิ่งไปตามเส้นทางที่กำหนด พยายามใช้เวลาให้น้อยที่สุดเท่า ควรรักษาความเร็วให้คงที่ ถ้าไปไม่ไหวอาจหยุดเดินแล้ววิ่งต่อหรือเดินต่อไปจนครบระยะทาง
การบันทึกเวลา บันทึกเวลาเป็นนาทีและวินาที



ภาพที่ 5.8 วิ่งระยะไกล
แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
            1.แบบทดสอบดันพื้น (Push – ups Test) ใช้ทดสอบเฉพาะผู้ชาย
วัตถุประสงค์  เพื่อวัดความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อแขน
อุปกรณ์
1. เบาะรองพื้น หรือสนามหญ้านุ่ม
2. นาฬิกาจับเวลา
ระเบียบการทดสอบ
1. ผู้ทดสอบจะต้องสังเกตลำตัวของผู้เข้ารับการทดสอบให้เหยียดตรง แขนทั้งสองอยู่ในท่าเหยียดตึงก่อนจะยุบข้อ เพื่อการดันพื้นลงไป
2. ข้อเท้าทั้งสองข้างของผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องยกไขว้กันอยู่ตลอดเวลา
3. เมื่อยุบข้อดันพื้นลงไป บริเวณหน้าอกของผู้เข้ารับการทดสอบลดต่ำลงจนเกือบ จะแตะบริเวณเบาะฟองน้ำ
วิธีปฏิบัติ
                ให้ผู้รับการทดสอบนอนคว่ำกับพื้น มือทั้งสองข้างยังพื้นข้างลำตัว เมื่อปฏิบัติให้ดันพื้นยกลำตัวขึ้นไปจนสุดการเหยียดแขน แล้วกลับลงสู่ท่าเดิม โดยให้ส่วนหน้าอกเท่านั้นเกือบแตะพื้นทำเช่นนี้สลับกัน นับจำนวนครั้งที่ทำได้มากสุด
การบันทึกคะแนน
                บันทึกจำนวนครั้งที่ทำได้อย่างถูกต้องภายในเวลา 30 วินาที
ภาพที่ 5.9 ดันพื้นชาย
แหล่งที่มารูปภาพ http://www.manager.co.th/marsmag/ViewNews.aspx?NewsID=9560000157673

ระดับสมรรถภาพ
อายุต่ำกว่า 30 ปี
อายุสูงกว่า 30 ปี
ต่ำมาก
28ลงมา
18ลงมา
ต่ำ
29-36
19-26
พอใช้
37-48
27-39
ดี
49-55
40-45
ดีมาก
56 ขึ้นไป
46 ขึ้นไป
ตารางที่ 5.9 เกณฑ์เทียบผล ทดสอบดันพื้นชาย(ครั้ง)
แหล่งที่มาตาราง หนังสือวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย หน้า 116

2.คุกเข่าดันพื้น (kneeling Push – ups) ใช้ทดสอบสำหรับผู้หญิง และชายอายุไม่เกิน 12 ปี
วัตถุประสงค์  เพื่อวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน
อุปกรณ์  พื้นราบเบาะหรือสนามหญ้า
วิธีปฏิบัติ
                นอนคว่ำหน้า เข่าแตะพื้นโดยใช้มือยันพื้น ความกว้างเท่าหัวไหล่ แขนทั้งสองข้างเหยียดตรง ปลายเท้าทั้งสองยันพื้น ปลายนิ้วมือชี้ไปด้านหน้า ผู้รับการทดสอบงอแขนให้ลำตัวอยู่ช่วงหน้าอกห่างจากพื้นเพียงเล็กน้อยแล้วดันพื้นขึ้นอย่างรวดเร็ว จนแขนทั้งสองข้างตึง โดยผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องและรวดเร็ว ให้ได้จำนวนครั้งที่มากที่สุด

การบันทึกผล
                บันทึกจำนวนครั้งที่ทำได้อย่างถูกต้อง
ภาพที่ 5.10 การคุกเข่าดันพื้นหญิง
แหล่งที่มารูปภาพ
http://www.atthakorn.com/zero-to-100-pushups-for-novice/

ระดับสมรรถภาพ
หญิงอายุอย่างต่ำกว่า 25 ปี
ต่ำมาก
5 ลงมา
ต่ำ
6-16
พอใช้
17-33
ดี
34-48
ดีมาก
49 ขึ้นไป
ตารางที่ 5.10 เกณฑ์เทียบผล คุเข่าดันพื้น ( ครั้ง )
แหล่งที่มาตาราง หนังสือวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย หน้า 118

3. การทดสอบยืนกระโดดแตะผนัง (Vertical Jump Test)
วัตถุประสงค์  เพื่อวัดกำลังขาและความแข็งแรงของข้อเท้า
อุปกรณ์  เครื่องมือทดสอบกระโดดสูง (Vertical Jump)
วิธีปฏิบัติ
                ให้ผู้รับการทดสอบยืนหันข้างด้านใดก็ได้ที่ถนัดใกล้กับผนังหรือที่ติดแผ่นกระดาษที่มีมาตรวัดเป็นเซนติเมตรเอาไว้ส้นเท้าทั้งชิดกัน มือด้านในจับชอล์กแล้วเหวี่ยงแขนทั้งสองข้างและย่อตัวลงเพื่อกระโดดให้ได้สูงที่สุดพร้อมกับใช้ชอล์กขีดกับแผ่นกระดาษที่มีมาตรวัด ให้ประลองได้ 3 ครั้ง เอาครั้งที่ดีทีสุด
การบันทึกผล
1. ให้ทำการทดสอบ 2 ครั้ง เอาครั้งที่ดีที่สุด
2. นำค่าที่กระโดดได้สูงที่สุดไปแปรผล
           3. ผลที่บันทึกมีหน่วยเป็น เซนติเมตร


ภาพที่ 5.11 การทดสอบยืนกระโดดแตะผนัง
แหล่งที่มารูปภาพ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=prrealestates&group=2

ระดับสมรรถภาพ
ชายอายุ 18- 34 ปี
หญิงอายุ 18 – 34 ปี
ต่ำมาก
20 ลงมา
5 ลงมา
ต่ำ
21 – 33
6 – 15
พอใช้
34 – 56
16 – 30
ดี
57 – 63
31 – 33
ดีมาก
64 ขึ้นไป
34 ขึ้นไป










ตารางที่ 5.11 เกณฑ์เทียบผล ยืนกระโดดแตะผนัง (เซนติเมตร)
แหล่งที่มาตาราง หนังสือวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย หน้า 118

1. แบบทดสอบวิ่ง 12 นาที ใช้ทดสอบทั้งชายและหญิง
วัตถุประสงค์ เพื่อความทนทาน
อุปกรณ์  ลู่วิ่งหรือถนนที่สามารถวัดระยะทางได้ (โดยกำหนดเครื่องหมายระยะทางไว้ก่อน)

วิธีปฏิบัติ
                ให้เลือกสถานที่ที่สามารถวัดระยะทางที่วิ่งได้ เริ่มจับเวลาที่ออกจากเส้นเริ่มไปจนกระทั่งครบ 12 นาที แล้ววัดและบันทึกระยะทางที่วิ่งได้ หน่วยเป็นเซนติเมตร
การบันทึก
1. ให้ผู้ทดสอบวิ่งให้ได้ระยะทางไกลที่สุดในเวลาที่กำหนด คือ 12 นาที อนุญาตให้เดินสลับวิ่งได้ (ถ้าไม่สามารถวิ่งได้ตลอด)
2. บันทีกระยะทางเป็นเมตรที่วิ่งได้ แล้วนำไปเปรียบเทียบกับตารางตามกลุ่มอายุและเพศเพื่อแปผล


ภาพที่ 5.12 วิ่ง 12 นาที
แหล่งที่มารูปภาพ
http://sirawit-swim.blogspot.com/p/blog-page_86.html

ระดับสมรรถภาพ
ชายอายุต่ำกว่า 30 ปี
หญิงอายุต่ำกว่า 30 ปี
ต่ำมาก
1.584 ลงมา
1.504 ลงมา
ต่ำ
1.585 - 1.964
1.505 – 1.805
พอใช้
1.965 – 2.360
1.806 – 2.122
ดี
2.361 – 2.756
2.123 – 2.597
ดีมาก
2.757 ขึ้นไป
2.598 ขึ้นไป
ตารางที่ 5.12 เกณฑ์เทียบผล วิ่ง 12 นาที (เมตร)
แหล่งที่มาตาราง หนังสือวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย หน้า 119

1. ฮาร์วาร์ด สเต็ป เทสต์ (Harvard step test ) ใช้ทดสอบทั้งหญิงและชาย
วัตถุประสงค์  เพื่อความสมารถของร่างกายในการปรับตัวให้เข้ากับงานหนักๆ และความมารถในการพื้นตัว

อุปกรณ์
1. ม้านั่งยาว หรือเก้ากี้สูง 20 นิ้ว
2. นาฬิกาจับเวลา
3. เครื่องให้จังหวะ (Metronome )ตั้งจังหวะไว้ 120 จังหวะต่อนาที
วิธีปฏิบัติ
1. จับชีพจรก่อนการทดสอบ เพื่อหาชีพจรขนาดพัก
2. ให้ผู้รับการทดสอบยืนอยู่หน้าม้านั่งยาวและเก้าอี้ให้สัญญาณพร้อมกับจับเวลาและให้ผู้รับการทดสอบปฏิบัติดังนี้
จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าขวาขึ้นบนม้านั่ง     จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าซ้ายขึ้นตามไป
จังหวะที่ 3 ก้าวเท้าขวาลงจากม้านั่ง     จังหวะที่ 4 ก้าวเท้าซ้ายตามลง

3. ให้ทำการทดสอบเป็นเวลา 5 นาที ถ้าไม่ครบให้บันทึกเวลาเท่าที่ทำได้
4. ให้นั่งพักทันทีที่เลิกทำ แล้วจับชีพจรที่หลอดเลือดแดงข้างลำคอเป็นเวลา 30 วินาที หลังจากได้พักเป็น 1 นาที เป็นการนับครั้งที่ 1 หลังจากพัก 2 นาที ให้จับครั้งที่ 2 และหลังจากพัก 3 นาที ให้จับครั้งที่ 3 บันทึกการจับชัพจร ไว้ทุกๆครั้งเพื่อนำไปคำนวณหาค่าดรรชนีสมรรถภาพทางกาย
ดรรชนีสมรรถภาพทางกาย   100 x เวลาที่ปฏิบัติเป็นวินาที
                                              5.5 x จำนวนชีพจรที่นับได้

หรือ   =  100 x เวลาที่ทำได้ เป็นวินาที
               2 x ผลบวกชีพจรขณะพัก
การบันทึกผล  ในการคิดคะแนนให้เอาผลรวมของการจับชีพจรขณะพักทั้ง 3 ครั้งมาราวกันแล้วนำมาคำนวณตามสูตร
ระดับสมรรถภาพ          
ดรรชนีสมรรถภาพ
ต่ำ
ต่ำกว่า 50
พอใช้
50 – 80
ดี
81 ขึ้นไป
ตารางที่  5.13 ฮาร์วาร์ด สเตป เทสท์ (แบบย่อ)
แหล่งที่มาตาราง หนังสือวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย หน้า 120


การตรวจสอบตนเองโดยการชั่งน้ำหนัก



                สำหรับคนที่กำลังลดน้ำหนัก สร้างกล้ามเนื้อ หรือคนที่กำลังดูแลสุขภาพอยู่ การชั่งน้ำหนักเพื่อเช็คดูว่าตัวเองมีน้ำหนักเท่าไหร่แล้ว ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ต้องทำเป็นประจำแทบจะเป็นเพื่อคู่คิด มิตรคู่ใจกันเลยทีเดียว วันนี้เรามีคำแนะนำจากผู้เชียวชาญมาบอกว่าการชั่งน้ำหนักเป็นประจำนั้นควรทำและไม่ควรทำ

                ผู้เชี่ยวชาญ Dawn Jackson Blatner จาก The American Dietetic Association กล่าวว่า อย่างที่เรารู้กันดีว่าคนที่ชั่งน้ำหนักเป็นประจำนั้นก็เป็นสิ่งที่ดี จะทำให้เรากำหนดและวางแผนวิธีการได้เหมาะสม แต่บางครั้งมันก็ดูจะเป็นเรื่องน่าเบื่อเกินไปดังนั้นจึงอยากแนะนำให้ชั่งน้ำหนักเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้งก็เพียงพอแล้ว เนื่องจากปัญหาที่พบกับคนที่ชั่งน้ำหนักเป็นประจำทุกวันนั้น จะมีโอกาสเกิดอาการหมกมุ่นกับตัวเลขบนตราชั่งมากจนเกินไป จนทำให้วิตกกังวลและเกิดภาวะเครียดกับการลดน้ำหนักขึ้นได้

                เพื่อขจัดความกังวลนี้ เราควรถามใจตัวเองว่าถ้าหากเราชั่งน้ำหนักทุกๆวันแล้วทำให้เราเครียดหรือกังวลมากไป มีผลกับจิตใจ ความมั่นใจในตัวเองมากไหม หรือไม่สบายใจกับการขึ้นๆลงของตัวเลขน้ำหนักบนตราชั่งที่อาจเกิดขึ้นรายวันได้ ถ้าคำตอบของคุณคือ ใช่เราแนะนำให้ชั่งน้ำหนักเพียงแค่สัปดาห์ละครั้ง


             การตรวจสอบตนเองโดยการจับชีพจร

                การตรวจสอบตนองโดยการจับชีพจร เป็นวิธีง่ายและมีประโยชน์ ทุกคนควรฝึกหัดตรวจสอบตนเองโดยการจับชีพจร ให้เป็นชีพจรเคลื่อนที่เกิดจากการหดตัวและขยายตัวของหลอดเลือดแดง ความดันจะทำให้หลอดเลือดแดงขยายตัวออกและหดตัวกลับเมื่อความดันลดลง ดั้งนั้นจังหวะการหดตัวและขยายตัวของหลอดเลือดจึงสัมพันธ์กับการทำงานของหัวใจ ทำให้เกิดคลื่นที่สามารถเห็นหรือสัมผัสได้ ทุกเช้าเมื่อตื่นนอน ให้เริ่มวัดชีพจร โดยไม่ต้องลุกไปทำกิจกรรมใดๆ ค่าที่ได้จากการวัดจึงค่อนข้างแม่นยำ อัตราการเต้นของชีพจรเป็นหลักที่นิยมใช้สำหรับกีฬาที่ต้องใช้ความอดทนเป็นพิเศษ ความจริงแล้วก็ใช้ได้ทุกกิจกรรมของการออกกำลังกายแต่ที่เน้นสำหรับนักวิ่งเพราะมีผลโดยตรงกับนักวิ่งระยะไกล เพราะเราต้องใช้ระบบการไหลเวียนเลือดเป็นหลักสำหรับการพัฒนาระบบต่างๆ ชีพจรเป็นจังหวะของการยืดหยุ่นของหลอดเลือดซึ่งจะเป็นจังหวะตามการบีบและคลายตัวของหัวใจ ในการส่งเลือดซึ่งมีสารอาหารและออกซิเจน ไปหล่อเลี้ยงตามอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย รวมถึงการรับของเสียจากการเผาผลาญสารอาหาร และการทำงานของระบบภายในร่างกาย เพื่อนำไปผ่านกระบวนการฟอกใหม่หรือขจัดทิ้งไป เพราะฉะนั้นเราต้องบันทึกพื้นฐาน การเต้นของหัวใจหรือชีพจรของเราและบันทึกไว้ ตังแต่การเริ่มออกกำลังกายครั้งแรก เพราะจะสามารถบ่งบอกให้ทราบถึงการพัฒนาการหรือความผิดปกติของสภาพร่างกายได้หลายอย่าง

            สัญญาณชีพจร (Vital signs) เป็นสิ่งที่แสงให้ทราบถึงการมีชีวิต สามารถสังเกตและตรวจพบได้จากอุณหภูมิชีพจร การหายใจ และความดันโลหิต สิ่งเหล่านี้เกิดจากการทำงานของอวัยวะของร่างการที่สำคัญมากต่อชีวิต ได้แก่ หัวใจ ปอด สมอง รวมถึงการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด และระบบหายใจ ซึงในภาวะปกติสัญญาณชีพอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้บ้างเล็กน้อย เมื่อใดที่ชีพจรผิดปกติผู้ป่วยจะต้องได้รับการสังเกตและค้นหาสาเหตุอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากแสดงให้เห็นว่ากำลังเกิดความผิดปกติกับร่างกาย เช่น ร่างกายอาจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ มีการเสียเลือด เสียความสมดุลของน้ำ และอิเล็กโทไลต์ เกิดการติดเชื้อ หรือปัญหาในการปรับตัวของร่างกายและการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เป็นต้น
                ชีพจร (Pulse) เป็นการหดและขยายตัวของผนังหลอดเลือด ซึ่งเกิดจาการบีบตัวของหัวใจทำให้คลื่นความดันโลหิตไปดันผนังเส้นเลือดแดงให้ขยายออกเป็นจังหวะ ในขณะที่เลือดไหลผ่านไปตามเส้นเลือด จังหวะการเต้นของเส้นเลือดจะสัมพันธ์กับการเต้นของหัวใจโดยตรง ชีพจรสามารถคลำพบได้ทั้งเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำ แต่นิยมคลำที่ตำแหน่งเส้นเลือดแดงมากกว่าเพราะจะคลำได้ชัดเจน หาตำแหน่งการคลำได้ง่าย บริเวณที่สามารถคลำชีพจรได้คือ ส่วนผิวของร่างการที่มีเส้นเลือดแดงผ่านเหนือหรือข้างๆกระดูก โดยมากเรียกชื่อตามตำแหน่งของหลอดเลือดที่จับได้ ดังนี้
                1. ชีพจรเท็มพอรัล (temporal pulse) หลอดเลือดแดงนี้จะทอดผ่านบริเวณขมับซึ่งอยู่ด้านข้างของตาซ้ายและขวา เยื้องขึ้นด้านบนเล็กน้อย
                2. ชีพจรคาโรทิด (carotid pulse) อยู่ด้านข้างของคอ คลำได้ชัดเจนที่สุดบริเวณมุมขากรรไกรล่าง
                3. ชีพจรเบเคียล (brachial pulse) อยู่ด้านในของกล้ามเนื้อไบเซ็พ คลำได้ที่บริเวณข้อพับแขนด้านใน เป็นตำแหน่งที่คลำเมื่อจะวัดความดันโลหิต
                4. ชีพจรเรเดียล (radial pulse) อยู่ที่ข้อมือด้านใน บริเวณกระดูกปลายแขนด้านนอกหรือบริเวณด้านหัวแม่หัว เป็นตำแหน่งที่นิยมจับชีพจรมากที่สุดเพราะเป็นที่ที่จับได้ง่ายและไม่รบกวนผู้ป่วย
                5. ชีพจรฟีโมรัล (femoral pulse) อยู่บริเวณขาหนีบตรงกลางๆ ส่วนของเอ็นที่ยึดขหนีบ
                6. ชีพจรพ็อพลิเทียล (popliteal pulse) อยู่บริเวณข้อพับเข่า หาค่อนข้างยาก แต่ถ้างอเข่าก็สามารถคลำได้ง่ายขึ้น อยู่ตรงกลางๆ ข้อพับเข่า
                7. ชีพจรดอร์เซลีสเพดดีส (dorsalispedis pulse) อยู่บริเวณหลังเท้า ให้ดูตามแนวกลางตั้งแต่หัวเข่าไป ชีพจรที่จับได้อยู่หลังเท้าระหว่างนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้
                8. ชีพจรแอ็พพิคัล (apical pulse) อยืที่ยอดของหัวใจ หน้าอกด้านซ้ายบริเวณที่ตั้งของหัวใจมักใช้กับเด็กทารกและเด็กเล็ก ที่อายุต่ำกว่า 2-3 ขวบ
                9. ชีพจรโพสทิเรียทิเบียล (posterior pulse) อยู่บริเวณหลังปุ่มกระดูกข้อเท้าด้านใน
                ให้กระทำตอนเช้าโดยใช้มือกระทำที่ข้อมือจุดจะอยู่ต่ำกว่าข้อพับของข้อมือ ประมาณ 1-1.5 นิ้ว โดยประมาณจากข้อมือ ใช้ช่วงปลายนิ้วชี้กับนิ้วกลางแตะที่จุดดังกล่าว ไม่ควรใช้นิ้วหัวแม่มือเพราะมีจุดชีพจรอยู่เดี๋ยวจะสับสนหรือจะจับที่ลำคอ โดยคลำที่บริเวณโดนหลอดอมนับจำนวนการเต้นโดยชำเรืองดูเข็มวินาทีของนาฬิกา เมื่อถึงขีดที่สังเกตได้ง่ายให้เริ่มนับหนึ่งและนับไปเรื่อยไปจนครบ 15 วินาที เอา 4 คูณ จะได้ชีพจีใน1 นาที นับเป็นวิธีที่สะดวกและให้ความแม่นยำพอกับวัตถุประสงค์เพื่อการนี้ เพราะบางครั้งอาจจับในขณะที่ออกกำลังกายไปด้วย
                สิ่งที่ต้องสังเกตในขณะคลำชีพจร ในการคลำชีพจรแต่ละครั้ง สิ่งที่ต้องสังเกตในการคลำชีพจร มีดังต่อไปนี้
                1. อัตราความเร็วของชีพจร หมายถึงอัตราการเต้นของหัวใจต่อ 1 นาที โดยทั่วไปอัตราความเร็วของชีพจรเด็กจะมีอัตราชีพจรมากกว่าผู้ใหญ่ ผู้หญิงจะมากกว่าผู้ชาย ตอนเช้าจะน้อยกว่าตอนบ่าย ขณะออกกำลังกายจะมากกว่าตอนพัก ขณะตื่นเต้นจะมากกว่าตอนสงบ โดยผู้ใหญ่ (ชาย) จะเต้นระหว่าง 60-80 ครั้งต่อนาที และหญิงระหว่าง 70 -90 ครั้งต่อนาที เวลาที่ควรจับเป็นประจำคือ ตื่นนอนในตอนเช้าก่อนจะลุกจากที่นอน การเปลี่ยนแปลงของชีพจรที่จับในช่วงเวลานี้จะช่วยบอกถึงความก้าวหน้าหรือลดลงของสภาพร่างกายเกี่ยวกับการออกกำลังกายเป็นอย่างดี
                2. ความแรงของชีพจร ความแรงหรือความหนักเบาของชีพจรในแต่ละจังหวะควรเท่ากัน ซึ่งความหนักเบาของชีพจรที่คลำได้ จะขึ้นอยู่กับปริมาณเลือดในร่างกาย ถ้าปริมาณเลือดในร่างกายปกติ ชีพจรจังหวะจะเต้น แรง ถ้าปริมาณเลือดน้อยลง ชีพจรก็เต้นเบาตามไปด้วย
                3. จังหวะ แสดงถึงลักษณะการบีบตัวของหัวใจ จังหวะที่ปกติจะต้องสม่ำเสมอ ช่วงห่าง ระหว่างแต่ละครั้งต้องเท่ากัน ถ้าจังหวะการเต้นไม่สม่ำเสมอ หรือช่วงห่างไม่เท่ากัน เหมือนมีการหยุดเต้นเป็นช่วงๆ แสดงถึงการบีบตัวที่ผิดปกติของหัวใจหรือมความพิการของหัวใจ กล่าวคือ หากร่างกายแข็งแรงขึ้นอัตราชีพจรจะลดลง ถ้าร่างกายอ่อนแออัตราชีพจรจะเพิ่มขึ้น



สรุปท้ายบท
                  แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการที่จะวัดระดับความสามารถของร่างกายในการ  แสดงออกสมรรถภาพด้าน ต่างๆ ผู้ฝึกสอนกีฬาจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเพื่อนำไปสู่การประเมินนักกีฬาและปรับปรุงโปรแกรมการฝึกและออกกำลังกายให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แบบทดสอบมีมากมายหลายแบบ แต่ละแบบทดสอบและจะ ครอบคลุมสมรรถภาพทางกายด้านต่างๆตามที่ต้องการแบบทดสอบที่เป็นสากลนั้นแสดงว่ามีค่าความเชื่อมั่นของการทดสอบมาตรฐานสากลยอมรับ คือ เป็นเครื่องมือที่มีการให้คะแนนคงที่ มีความเที่ยงตรงเชื่อถือได้ และมีเกณฑ์มาตรฐานการทดสอบ
                 การใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่มีมากหลายชนิดนั้น การนำแบบทดสอบไปใช้ ควรจะทำการศึกษาให้ละเอียดชัดเจน เพื่อการได้ค่าการทดสอบที่แน่นอนตรงตามความเป็นจริงหรือการเลือกรายการทดสอบก่อนแล้วจึงนำไปเลือกวิธีการทดสอบต่อไป
                 การตรวจร่างกายโดยการชั่งน้ำหนักตัวเองเป็นประจำทำให้เป็นคนที่มีสัดส่วนสมบูรณ์และสมส่วนเราควรจะมีการชั่งน้ำหนักแบบสม่ำเสมอ เพราะมันทำให้เราสามารถคำนวณ การออกกำลังกายรวมถึงคำนวณการรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับรูปร่าง ได้
                การตรวจสอบร่างกายโดยการวัดชีพจรถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะทำให้เราทราบได้ว่าการออกกำลังกายแบบไหนเหมาะสมกับเรามากที่สุด เพราะบางคนเป็นโรคประจำตัวแต่อยากออกกำลังกายโดยไม่ได้ศึกษาก่อนก็มักจะเกิดผลเสียต่อสุขภาพ

                 ดังนั้นการทดสอบสมรรถภาพที่ดีควรใช้เกณฑ์การวัดให้เหมาะสมกับละแต่ละบุคคล เพราะแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายภาพทางกายก็ไม่เหมาะสมกับคนทุกคนสำหรับคนที่ต้องกายเพื่อสุขภาพไม่จำเป็นต้องหักโหมมากจนเกินกำลังของตัวเอง






เอกสารอ้างอิง
การทดสอบสมรรถภาพทางกาย [ออนไลน์]. 
(วันที่ค้นข้อมูล : 5 เมษายน 2559)
การทดสอบงอแขนห้อยตัวหญิง[ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : https://www.google.co.th/search?q=
(วันที่ค้นข้อมูล :  4 เมษายน 2559)
การตรวจสุขภาพด้วยตนเอง [ออนไลน์]. 
เข้าถึงได้จาก
 http://wwwsiamhealth.net/public_html/Health/good_health_living/checkup/checkup.htm
(วันที่ค้นข้อมูล : 3 เมษายน 2559)
ฉัตรชัย ประภัศร (2553) เอกสารการสอนวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย   (Exercise and sport science) ฉะเชิงเทรา : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
ฉัตรชัย ประภัศร (2557) , วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย,  ฉะเชิงเทรา :คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
แนะนำการสอบพละศึกษา [ออนไลน์]. 
เข้าถึงได้จาก http://www.cedetcentre.com/main/jupgrade/index. 
(วันที่ค้นข้อมูล : 3 เมษายน 2559)
ประภัสสร อักษรพันธ์ คู่มือการทดสอบสมรรถภาพทางกายประชาชนไทยกองวิทยาศาสตร์การกีฬาฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย 2545
พูนศักดิ์ ประถมบุตร , (2532) , การทดสอบและการประเมินผลการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 1 ,
              กรุงเทพมหานคร ; โอเอส . พริ้นตี้. เฮ้าส์
ลักษณะของแบบทดสอบ [ออนไลน์]. 
เข้าถึงได้จาก https://sites.google.site/krusattapong/baeb-thdsxb  
(วันที่ค้นข้อมูล : 2  เมษายน 2559)


ความคิดเห็น

  1. Daftar Situs Resmi Judi Online Poker & Domino QQ yang Mudah Menang paling fair play pemain vs pemain, hanya dengan minimal Deposit 10 ribu rupiah di situs Poker Pulsa,anda berkesempatan memainkan 10 jenis permainan kartu Remi dan Domino
    Link Resmi DAFTAR WINNIPOKER SITUS PKV RESMI MUDAH MENANG AGEN RESMI PKV POKER QQ Merupakan Situs Resmi JUDI ONLINE Minimal Deposit PULSA 10 RIBU Hanya ada di PUSAT PKV GAMES Situs Resmi Mudah Menang PKV POKER PULSA Contact Support Whatsapp +855974749990

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม